เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงหมู

โดย : นายศักดิ์ประสงค์ สิงห์จานุสงค์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-13-13:23:52

ที่อยู่ : ๑๓๕ หมู่ ๘ . ซอย - ถนน - ตำบล หนองเทพ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อปี ๒๕๔๕ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ จึงคิดจะหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ประกอบกับพอมีความรู้เรื่องและประสบการณ์การเลี้ยงหมูจากการเป็นลูกจ้างของฟาร์มหมู จึงได้ซื้อลูกหมูมาลองเลี้ยงดูครั้งแรกจำนวน ๕ ตัว  โดยมีการศึกษาข้อมูล วิธีการเลี้ยงเพิ่มเติมจากหนังสือ ศึกษาจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและการลองผิดลองถูก จนทำให้มีความรู้ในการเลี้ยงหมูที่คุณภาพดี ให้ผลผลิตสูง และยึดถือเป็นอาชีพมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์ ->

 ๒.๑ สถานที่การเลี้ยง

              ควรจะสร้างโรงเรือนให้อยู่ห่างจากชุมชนสักหน่อยถ้าเป็นไปได้เพราะการเลี้ยงสุกรอาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรงและอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในย่านนั้น หรือไม่ก็ต้องมีการจัดการกับระบบมูลสุกรหรือของเสียที่อาจจะส่งกลิ่นออกมาให้ดี แหละถ้าให้ดีควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่แพงมากจนเกินไป หรือ อาจจะใกล้แหล่งที่สามารถหาอาหารเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้อย่างเพียงพอ
              ๒.๒ การคัดเลือกพันธุ์สุกร

               โดยพันธุ์สุกรที่ จะนิยมนำมาขุน ส่วมมากจะนิยมใช้ผสม 2, 3, หรือ 4 สายพันธุ์ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต การเติบโต และ ความแข็งแรง ที่ดีกว่าการได้จากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิดพันธุ์เดียวกันพันธุ์ที่ส่วนมากใช้ในการผสมข้ามสายพันธุ์มีหลายพันธุ์ อย่าเช่น พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นตัน
                ๒.๓ โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกร

              ควรตั้งอยู่ในที่น้ำไม่ท่วม สามารถระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน หรือ ตลาด ต่างๆโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องสามารถป้องกันแดด กันฝน และ กันลม ยิ่งถ้าช่วงในฤดูร้อนควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ พื้นในคอกของสถานที่เลี้ยงควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดโดยขนาดของคอกควรมีประมาณ 4 x 35 เมตร จึงจะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ที่มีขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว ส่วนความยาวของคอกนั้นให้ขึ้นอยู่กับว่า จำนวนสุกรที่เลี้ยง

               ๒.๔  การให้อาหารสุกร
                   โดยสุกรนั้นเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากๆได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวมชนิดอื่นๆดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงควรจะต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหารแบบสำเร็จรูป อาจผสมอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสุกรเอง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำ, ปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ

            ๒.๕ การจัดการเลี้ยงดูแลสุกร
เกษตรกรควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน และให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยตลอดระยะเวลาการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน
- ด้านความสะอาดของสถานที่เลี้ยงหรือคอก
เกษตรกรควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะนำโรคมาสู้ตัวสุกรได้ และอีกทั้งยังป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนชุมชนสถานที่ใกล้เคียงอีกด้วยอีกด้วย และสุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และ จัดฉีดวัคซีนตามกำหนด ที่เราได้ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุกรมีสุขภาพที่ดี
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือ การเอาใจใสให้มากๆ ปฏิบัติตามขั้นตอนทุกอย่างอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม หรือถ้ามีปัญหาขึ้นระหว่างการเลี้ยง ก็ต้องหาสาเหตุว่าปัญหานั้นมันเกิดจากอะไร จึงหาแนวทางวิธีการแก้ไขให้ตรงตามสาเหตุที่เกิด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา