เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรกร(ทำนา)

โดย : นายอนุสรณ์ สุพรรณโรจน์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-17-15:31:29

ที่อยู่ : 24/1 ม.4 ต.บางงาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้าเป็นลูกชาวนาทำนาตามพ่อแม่ซึ่งปลูกกันมารุ่นสู่รุ่นบ้างครั้งก็รับจ้างดำนาและ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวเมื่อเสร็จจากนาตัวเองก็จะไปเก็บข้าวที่ล่วงอยู่ตามท้องนา

วัตถุประสงค์ ->

2.1 การปลูกข้าวไร่

การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูก มากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

                   2.2การปลูกข้าวนาดำ

 หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอน ที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียม ดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร

                    

2.3 การไถดะ  การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปร แล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็น ที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก

3.3.  การดูแลรักษา

                        3.1.1  การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้ว คราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมี ความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่ม งอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน การ ตั้งตัว ของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่า การหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน

                      3.1.2  การให้น้ำ  การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าตามร่องแปลงและบางรายใช้วิธีการตักน้ำรดจากบ่อ  โดยใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ  และคลองชลประทาน  การให้น้ำจะเฉลี่ย  3  ครั้งตลอดอายุการปลูก 

4. การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร และพื้นที่นา เป็นผืนใหญ่ขนาด ประมาณ 1-2 ไร่มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียม ดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออก จากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดิน ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันในท้องนา

ครั้งละ  3-5  ใบ  และเว้นระยะการเก็บในแต่ละครั้งห่างกัน  7  วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผลผลิตให้ได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี  เราไม่สามารถละเลย  ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้เลย  และสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ก็คือ  “การติดตามควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน” ถ้ามีปัญหาอย่าตัดสินใจแก้ไขเองโดยพละการ  ให้ปรึกษาผู้รู้ก่อน  เพื่อป้องกันความผิดพลาดและไม่ทำให้เป้าหมายของเราล้มเหลว

          ในระหว่างทุก ๆ ขั้นตอน  ย่อมมีอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นเสมอ  แต่อย่าวิตก  เพราะทุกอย่างแก้ไขได้ทั้งสิ้น  ขอให้ยึดหลักการที่ได้แนะนำมาเป็นทางแก้  ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่จะทำให้เกิดอุปสรรค  อาทิ  ปัจจัยดินฟ้าอากาศ  ปัจจัยสภาพพื้นที่  ๆ แตกต่างกัน เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา