เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกกล้วยน้ำว้า

โดย : นางพนอ ฉายอรุณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-17-15:29:31

ที่อยู่ : 88/3 ม.2 ต.มดแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้า และครอบครัว เดิมประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา  หลักจากนั้นได้หันมาทำสวน  เช่น  กล้วย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ  และปลูกได้ดีกับดินในอำเภอศรีประจันต์

วัตถุประสงค์ ->

กล้วยน้ำว้า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นสูง 3.0- 4.5 เมตร ลำต้นแท้จะเป็นส่วนหัว/เหง้าที่อยู่เหนือดินเล็กน้อย หรือ ฝังอยู่ใต้ดิน  เหง้ากล้วยน้ำว้าสามารถแตกหน่อแยกเป็นต้นใหม่ได้   ส่วนลำต้นเหนือดินที่เป็นลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบ และใบ        โดยกาบใบจะแทงออกจากเหง้าเรียงซ้อนกันแน่นเป็นวงกลมจนกลายเป็นลำต้นตามที่มองเห็น   แผ่นกาบด้านนอกที่มองเห็นจะมีสีเขียว   และมีสีดำประเล็กน้อย  กาบใบเป็นแผ่นโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม  โดยมีแกนกลางเป็นกาบอ่อนเรียงซ้อนกัน แต่เมื่อกล้วยออกปลี/ดอก แกนกลางจะกลายเป็นแก่นกล้วยแทน ขนาดของลำต้นเทียมประมาณ 15-25 ซม.  ส่วนรากล้วยจะมีเพียงระบบรากแขนงที่แตกออกจากเหง้ากล้วย  รากแขนงนี้มีลักษณะเป็นเปลือกหุ้มสีดำ  แก่นรากมีสีขาว  ขนาดของรากประมาณ 0.5-1 ซม. หรือ ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อย

วิธีการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ออกลูกได้ตลอดปี

1.ทำการเลือกต้นพันธุ์โดยในที่นี้ขอเสนอให้เลือกต้นพันธุ์จากหน่อ   หรือการเพาะเนื้อเยื่อ   

2.ทำการเตรียมดิน โดยการไถดะด้วยผานสามตากดินประมาณหนึ่งเดือน และไถแปรด้วยผานห้าอีกทีตากดินทิ้งไว้ประมาณหนึ่งเดือน

3.กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4x4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร  การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปีเลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้ จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว

4.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน และควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม

 

- ๒ -

 

5.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน และควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม

6.ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน

7. ในระยะเดือนแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ เป็นเดือนที่ต้องเอาใจใส่อย่างมาก หากเป็นการให้น้ำแบบฝอยหรือมินิสปริงเกลอร์ จะทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว สามารถสร้างใบและลำต้นใหม่ได้ดี โอกาสรอดสูงกว่าการลากสายยางรดน้ำ และเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้น หลังปลูกได้ 1 เดือน และเดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน

8. เดือนที่ 2 และ 3 ต้นกล้วยจะมีต้นและใบใหม่ทั้งหมด ปัญหาคือหญ้าขึ้นคลุมต้น ต้องถากหญ้าบริเวณโคนต้นออกให้หมด

9. เดือนที่ 4 การเจริญเติบโตเร็วมาก ทั้งความสูงและรอบวงต้นใกล้เคียงปลูกจากหน่อพันธุ์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดต้นปลูกเริ่มแรก ถ้าสูง 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะโตทันกัน ถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่ต้นรอดตายทั้งหมด การดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกด้วยหน่อ โดยให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้นในเดือนที่ 4 และ 5 ส่วนเดือนที่ 6 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทนและงดใส่ปุ๋ยจนกว่าจะแทงปลี ถึงจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้ง จนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยวถึงจะเริ่มให้ปุ๋ยในรอบใหม่

10. ในช่วง 1-6 เดือนหลังปลูกให้ปาดหน่อที่โผล่ออกมาทิ้งไปพอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปรากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”

“สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ “ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดราคาเพราะจำเป็นต้องตัดขายทั้งแปลง”

 11. เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 9 กล้วยจะเริ่มแทงปลีการแทงปลีหรือตกเครือจะเร็วหรือช้ากว่าหน่อพันธุ์ ขึ้นอยู่กับขนาดลำต้นปลูกเริ่มแรกและการดูแลรักษา หากต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 เซนติเมตรขึ้นไป หรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 4 เซนติเมตร การตกเครือใกล้เคียงกับหน่อพันธุ์ ขนาด 1 เมตร หากต้นมีขนาดใหญ่กว่านี้ การตกเครือจะเร็วกว่าหน่อพันธุ์ และหากเล็กกว่านี้การตกเครือจะช้ากว่าหน่อพันธุ์ อายุเครือกล้วยจากการแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือน เท่ากับหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

“กล้วยน้ำว้า” นอกจากเป็นพืชเศรษฐกิจ  ก่อให้เกิดรายได้ ต้นทุนในการผลิตต่ำ ดูแลง่ายแล้ว  ยังมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง 

 

- ๓ -

 

 เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีลักษณะลำต้น และใบที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ  จึงนิยมนำส่วนต่าง ๆ

มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่

1.      กล้วยน้ำว้าสุก
– กล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้
– กล้วยน้ำว้าสุกใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลือง

ทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

ต่างๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้ามต้มมัด เป็นต้น
– นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน พิธีเข้าพาขวัญ/สู่ขวัญ

     – กล้วยดิบหรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลือก และนำผลไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงกล้วยสำหรับใช้

ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน
2. กล้วยน้ำว้าดิบ
– นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
– ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม
3. ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน
– นำมาปรุงอาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น
– นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ที่ส่วนมากนิยมใช้เลี้ยงสุกร
4. ปลีกล้วย
– ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ เป็นต้น
– ผลอ่อนที่ได้จากการตัดปลีกล้วย ใช้จิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดเป้นเครื่องเคียง
5. ใบกล้วยหรือใบตอง
– นำมาห่ออาหารหรือห่อปรุงอาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ
– ใบกล้วยทีเหลือจากการตัดเครือหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น เลี้ยงสุกร โค
– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก
– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง – ใบกล้วยที่แห้งคาต้น คนโบราณหรือคนในชนบทนิยมในปัจจุบันนำมาใช้มวนยาสูบ
6. กาบกล้วย
– กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ
7. ก้านกล้วย
– ใช้ทำเครื่องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา