เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายสุทัศน์ เกศศรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-31-12:07:39

ที่อยู่ : 62 ม.13 ต.ท่าเกวียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน

1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก

1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี

1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ

1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง

1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ

2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน

 

2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก

2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง

2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

อุปกรณ์ ->

ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆ หรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้า 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการป้องกันโรค
1. ภายในคอก ถ้าไม่จำเป็นห้ามให้คนอื่นเข้าไป เพราะคนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญที่สุด
2. เมื่อมีไก่ตายอย่าเสียดาย เผา หรือฝังทันที อย่านำไปทิ้งหรือให้คนอื่นไปพอพ้นๆ คอก เพราะนอกจากจะแพร่ระบาดที่คอกคนอื่นแล้วคอกตัวเองก็จะไม่พ้นเช่นกัน
3. ถ้าได้ยินข่าวว่าไก่ในหมู่บ้านป่วยหรือตาย ให้รีบขังไก่ ให้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินไว้ก่อน ในช่วงนี้อย่าทำวัคซีน
4. ถ้านำไก่จากที่อื่นมา ก่อนจะนำเข้าฝูง ควรขังดูอาการสัก 7 วัน เมื่อเห็นว่าปกติแล้วจึงให้วัคซีนดูอาการอีกครั้ง 7 วัน ถ้าปกติค่อยปล่อยรวมฝูง
5. ควรให้ยาถ่ายพยาธิไก่ทุกๆ 3 เดือน โดยเฉพาะไก่ใหญ่ควรให้ยาถ่ายพยาธิก่อนให้วัคซีนสัก 7 วัน
6. การป้องกันโรคด้วยวัคซีนควรทำตามขั้นตอน แม้จะเหนื่อยแต่ก็คุ้ม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา