เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายสนิท เอี่ยมสะอาด ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-26-11:47:47

ที่อยู่ : บ้านกะสัง ม.8 ต.ทัพไทย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

-การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้คนในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. การจัดเวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเป็นทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับอบรมครัวเรือนเป้าหมาย
2. วิเคราะห์องค์ความของปราชญ์ชุมชนทั้ง 5 ท่าน เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. เป็นอันดับแรก และสำรวจความผู้ที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวน 20 ครัวเรือน
4. สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง แก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน
5. ดำเนินการสาธิตการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะช่องทางการตลาดให้กลุ่มเป้าหมาย

วิธีการเลี้ยง

1. การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สำหรับผสมพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ ควรมีการคัดเลือกสายพันธุ์ทุกปี เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด อันเป็นสาเหตุทำให้ไก่ไม่แข็งแรงและไม่ทนทานต่อโรค  
2. น้ำและอาหารเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงไก่ ถ้าไก่ขาดน้ำจะตายภายใน 24 ชั่วโมง ควรให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน และให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ โดยการสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อยๆ และเลิกแย่งกัน กินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. วิทยากรสัมมาชีพจะต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ครัวเรือนสามารถมีอาชีพเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้
2. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน แบบพี่สอนน้อง ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ซึ่งจะช่วยกระชับเวลาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้สั้นลงการสาธิตให้ดู ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงไก่พื้นบ้านเข้าใจยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา