เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด

โดย : นางลำไพ เทียนทัยสงค์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-25-15:43:18

ที่อยู่ : 214 ม.12 ต.ทัพราช

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      ในปี2558 นางลำไพ เคียงไทสงค์ เริ่มต้นเลี้ยงจิ้งหรีดจากความต้องการที่จะหาอาชีพเสริม จากการทำการเกษตรที่เป็นอาชีพหลัก จึงได้ศึกษาหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และศึกษาจากแหล่งที่มีการเพาะเลี้ยง โดยเริ่มต้นเลี้ยงบริเวณใต้ถุนบ้านและขยายไปจนทั่วบริเวณบ้าน

     ในปี2560 ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอตาพระยา ทำให้มีผู้ที่สนใจเลี้ยงมากขึ้น จึงเกิดเป็นกลุ่มอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดละลุ บ้านคลองยางขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

ต้นทุนการเลี้ยงครั้งแรก(ต่อจิ้งหรีด 1 คอก)

          การเลี้ยงจิ้งหรีดของกลุ่มจะเป็นการเลี้ยงใต้ถุนหรือบริเวณบ้าน โดยขั้นเริ่มต้นจะต้องมีการทำคอกเลี้ยงและซื้อไข่จิ้งหรีดเป็นพันธุ์ โดยมีต้นทุนการเลี้ยงต่อคอกอยู่ที่ 2,950 บาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

          1.คอกจิ้งหรีด (ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร)

                   -ไม้กระดานแผ่นเรียบ     จำนวน 4 แผ่น            ราคา 850 บาท

                    -ผ้าเขียว                   จำนวน 1 ผืน              ราคา 70 บาท

                    -แผงไข่                     จำนวน 200 แผง         ราคา 380 บาท

          2.ไข่จิ้งหรีด (ต่อคอกใช้จำนวน 30 ขัน )

                   -ไข่จิ้งหรีด                  จำนวน 30 ขัน            ราคา 900 บาท (ขันละ 30 บาท)

          3.อาหาร

                   -หัวอาหารจิ้งหรีด         จำนวน 1 กระสอบ        ราคา 500 บาท

                   -ลำละเอียด                จำนวน  1 กระสอบ       ราคา 250 บาท

การจัดเตรียมคอกเลี้ยงจิ้งหรีด

          การทำคอกจิ้งหรีดจะใช้ไม้กระดานแผ่นเรียบมาทำเป็นฉากกั้นไว้ทั้ง 4 มุม และนำแผงไข่มาเรียงไว้ในคอกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของจิ้งหรีด จากนั้นนำผ้าเขียวมาคุมไว้เพื่อกันไม่ให้จิ้งหรีดออกจากคอก

วิธีการเลี้ยง

          การเลี้ยงจิ้งหรีด 1 งวด จะใช้เวลาประมาณ 35-40 วัน โดยมีวิธีการเลี้ยงดังนี้

          1.ระยะเวลาการฟักตัวจากไข่เป็นตัวอ่อน

          จิ้งหรีดจะใช้เวลา 7 – 10 วัน ในการฝักไข่เป็นตัวอ่อน โดยเราจะเก็บไข่ไว้ในผ้าขาวบางเมื่อไข่เป็นตัวอ่อนแล้วจึงนำลงคอก

          2.ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย

 

จิ้งหรีดเมื่ออายุครบ 3 วัน จะมีการลอกคราบ และจะลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง แล้วเข้าสู่ระยะตัวโตเต็มไว้ โดยเทคนิคการเลี้ยงมี ดังนี้

          อาทิตย์ที่ 1 งดการให้น้ำให้อาหาร เพื่อให้จิ้งหรีดได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม

          อาทิตย์ที่ 2  ให้หัวอาหารจิ้งหรีดผสมกับลำหยาบ โดยใช้หัวอาหาร 2.5 กิโลกรัม ต่อ ลำละเอียด 5 

      กิโลกรัม และให้น้ำประมาณ

          อาทิตย์ที่ 3  ลดหัวอาหารลงและผสมลำหยาบ โดยให้หัวอาหาร 1.5 กิโลกรัม ต่อ ลำละเอียด 5 

      กิโลกรัม และให้น้ำประมาณ

อาทิตย์ที่ 4  จะให้อาหารเฉพาะลำหยาบและจะให้กินพืช คือ ผักไชยา หรือ ยอดมันสำปะหลัง โดยจะ

     งดการให้หัวอาหารเพื่อไม่ให้จิ้งหรีดมีกลิ่น และให้น้ำประมาณ

          อาทิตย์ที่ 5 จิ้งหรีดจะเข้าสู่ช่วงตัวเต็มวัยและจะเข้าสู่ช่วงการผสมพันธุ์และวางไข่โดยการให้อาหารจะ

     ให้เหมือนในช่วงอาทิตย์ที่ 4 และให้น้ำประมาณ

          3.ระยะวางไข่ 

          เมื่อจิ้งหรีดจะผสมพันธุ์แล้วอีก 3 – 4 วัน จะเริ่มวางไข่ โดยจะให้จิ้งหรีดไข่ 2 ช่วง ช่วงแรกเมื่อจิ้งหรีดผสมพันธุ์และว่างไข่จะเก็บเป็นไข่ไม่เพื่อทำพันธุ์เลี้ยงในรุ่นต่อไป โดยจะนำแกลบหรือดินเกษตร ไปรองไว้ที่ก้นคอกเพื่อเป็นที่ให้จิ้งหรีดมาไข่ ช่วงที่สองเมื่อจิ้งหรีดผสมพันธุ์และใกล้จะถึงระยะวางไข่ก็จะเก็บไปขาย เนื่องจากทำให้จิ้งหรีดมีน้ำหนักและรสชาติอร่อย

 

การเก็บขาย

          เมื่อจิ้งหรีดพร้อมที่จะขาย ก็จะทำความสะอาดคอก โดยการเก็บขี้จิ้งหรีดออกใส่ถุงเป็นปุ๋ยคอกจิ้งหรีด เก็บแผงไข่ออก และจับตัวจิ้งหรีดขาย

 

รายได้จากการเลี้ยง

          จิ้งหรีด 1 คอก จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 15-20 กิโลกรัม และขายได้กิโลกรัมละ 70-90 บาท รายได้ประมาณ 1,050 – 1,800 บาทต่อคอก โดยคอกหนึ่งลงทุนในการทำแค่ครั้งเดียวและสามารถเลี้ยงได้ตลอด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา