เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกผักสวนผสม

โดย : นายอรุณ อักโขมี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-09-27-15:31:04

ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 1 ตำบลควนขัน อำเภอเมืองสตูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

การทำสวนครัวแบบผสมผสาน การปลูกผักบุ้งในกระถางก็ทำได้ หรือการปลูกผักบุ้งบนต้นกล้วยก็สามารถทำได้ ผักบุ้งเป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ในดินที่แห้งแล้งไปจน ถึงที่ที่มีน้ำมาก และหากมีน้ำมากก็จะทำให้ลำต้นเจริญงอกงามดี มีความกรอบมากกว่าผัก บุ้งที่เจริญในที่แห้งแล้ง นอกจากนี้ผักบุ้งยังเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็วสามารถปลูกหรือขยายพันธุ์ได้โดยการแยกกิ่งแก่ไปปักชำเท่านั้น การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ แบบ สวนครัวผสม นี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภออีกด้วย ดังเช่น ที่วัดคู้ธรรมสถิติ์วราราม อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้มีการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช ซึ่งนายวีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานเปิดงานโครงการฯ โดยมีเกษตรกรทั้งสามอำเภอเข้าร่วมงานกว่า 600 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้มอบพันธุ์กล้าไม้ ให้กับเกษตรกรตามแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง การทำสวนครัวแบบแขวน ผสมผสานศิลปะเข้าด้วยกัน การนำพืชผักสวนครัว เช่น พริก ตะไคร้ มะกรูด ผักชีฝรั่ง ต้นหอม มาดัดแปลงปลูกลงในวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถแขวนไว้แถวชายคา หรือข้างๆ บ้านได้ ซึ่งนอกจากผู้ปลูกเลี้ยงจะได้ประโยชน์ คือสามารเก็บรับประทานได้แล้วยังสามารถใช้ประดับประดาบ้านเรือนให้สวยงามแทนไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้อีกด้วย ในการปลูกผักหรือพืชตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องมีดินหรือวัสดุให้ต้นพืชยึดเกาะรวมทั้งมีน้ำ แหล่งธาตุอาหารและสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบ สภาพแสงและร่มเงา มีความจำเป็นในขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเพื่อสร้างอาหารโดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งความต้องการแสง ในการปลูกผัก ดังนี้ สภาพที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรปลูกพืชผักที่สามารถเจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ต้นชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา สภาพที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรเลือกปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง พริกต่างๆ ยกเว้น พริกขี้หนูสวน ดินและธาตุอาหารพืช ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกผัก คือ ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน้ำดี อุดมด้วยอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช การปลูกผักในภาชนะ ควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช) วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้ วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดขาวกวางตุ้ง ผักชี กุยฉ่าย ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง ผักกาดหอม ผักโขมจีน ขึ้นฉ่าย โหระพา ผักชีฝรั่ง กระเทียมใบ หัวผักกาดแดง กะเพรา แมงลัก หอมหัวใหญ่ ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่ หอมแบ่ง (หัว) ผักชีฝรั่ง กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก) หอมแดง (หัว) บัวบก (ไหล) ตะไคร้ (ต้น) สะระแหน่ (ยอด) ชะพลู (ต้น) โหระพา (กิ่งอ่อน) กุยช่าย (หัว) กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา