เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นางสาวจุฬารัตน์ ศรีวิริยะจันทร์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-06-13:19:10

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสิงหนคร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา  ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีนโยบายการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน  ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป
แรงบันดาลใจ  ตามที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้รับการฝึกอบรมการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดให้ประชาชนในตำบลรำแดงที่รับผิดชอบถือปฏิบัติมาตลอด ทำให้เห็นความตั้งใจของคนในหมู่บ้านรำแดง หมู่ที่ 3 ตำบลรำแดง มีความตั้งใจน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จึงมีแรงบันดาลใจที่จะผลักดันให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการใช้ชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่หมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน แบบเกษตรผสมผสาน
เหตุผลที่ทำ บ้านรำแดง หมู่ที่ 3 เป็นหมู่บ้านการเกษตรผสมผสาน ส่วนใหญ่ทำนาแบบผสมผสาน ปลูกผัก ทำสวน หลังฤดูเก็บเกี่ยวนา และเล็งเห็นว่าสิ่งที่เกษตรกรต้องใช้ในการทำการเกษตรซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นต้นทุนที่สูง คือปุ๋ย ทั้งที่คนในหมู่บ้านเองก็มีความรู้ในเรื่องการผสมปุ๋ยอินทรีย์ แต่ไม่มีการรวมตัวกัน ข้าพเจ้าจึงใช้โอกาสที่มีโครงการสัมมาชีพชุมชน ให้ชาวบ้านรวมตัวกันทำปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุน

วัตถุประสงค์ ->

1. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตาม โครงการสัมมาชีพชุมชน คัดเลือกและจัดทำทะเบียนปราชญ์ชุมชนเป้าหมาย 
2. คัดเลือกปราชญ์ชุมชน และวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรม จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา
3. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน
4. ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา
5. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน
6.ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”
7. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน
8. ส่งเสริมครัวเรือนสัมมาชีพที่มีความรู้และอาชีพที่เหมือนกันเข้าร่วมกลุ่ม และสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพทำปุ๋ยอินทรีย์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เป็นอาชีพที่มาจากความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายอย่างแท้จริง
2. ได้รับความร่วมมือและสมัครใจในกระบวนการมีส่วนร่วมของทีมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย
3. องค์ความรู้จากทีมวิทยากรปราชญ์ชุมชน

อุปกรณ์ ->

ควรให้กลุ่มคัดเลือกคณะกรรมการจัดการบริหารกลุ่ม แบ่งหน้าที่ตามความรู้ความสามารถ มีระเบียบข้อบังคับของกลุ่มเขียนไว้อย่างชัดเจน มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ให้ส่วนราชการมีการส่งเสริมด้านองค์ความรู้ และสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และขยายผลให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสงขลา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา