เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

แนวทางการพัฒนาเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายอมร ธุษาวัน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-19-12:18:48

ที่อยู่ : กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชนได้ประกาศวาระกรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๖๐ (CDD Agenda 2017) โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน

          เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน หมายถึง เว็บไซต์ที่จัดทำให้มีเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้          ต่าง ๆ ตลอดจนเป็นช่องทางการสื่อสาร การบริการข้อมูลตามโครงการสัมมาชีพชุมชนโดยตรง โดยที่               ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน  พร้อมให้บริการทาง www.cddata.cdd.go.th/cddkm และกำหนดให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการเพิ่มเติมปรับปรุงข้อมูลให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน สามารถใช้งานได้จริงเป็นไปตามวาระกรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๖๐

          ดังนั้น จังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ มีเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน www.cddata.cdd.go.th/cddkm จำนวน ๑ เว็บไซต์ ที่มีข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล กิจกรรม องค์ความรู้ ปราชญ์ชุมชน ตามโครงการสัมมาชีพชุมชน ตามจำนวนดังนี้

๑.    ความรู้สัมมาชีพชุมชน จำนวนหมู่บ้านละ ๕ องค์ความรู้

๒.    เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนของปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ ๒ องค์ความรู้ และเทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทั้งจังหวัด คนละ ๑ องค์ความรู้

๓.    ฐานข้อมูลปราชญ์ชุมชน จำนวนหมู่บ้านละ ๕ คน

๔.    มีการเพิ่มเติมข้อมูลสินค้าและบริการจากหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือนมีนาคม – กันยายน ๒๕๖๐

          ประโยชน์ของการทำเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนของจังหวัดศรีสะเกษ

๑.    ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดี และทันสมัยให้กับหน่วยงาน โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการทำงาน เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0

๒.    ช่วยเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลองค์ความรู้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการประชาสัมพันธ์                  การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ซึ่งเว็บไซต์สามารถเผยแพร่ได้ทั่วโลก ถือเป็นสื่อที่มีผลกระทบในวงกว้าง อีกทั้ง เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์การทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

๓.    สามารถเป็นสื่อกลางในการค้นหาอาชีพที่เหมาะสม เป็นช่องทางสำคัญให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนากระบวนงานสัมมาชีพชุมชน ในแง่ของการถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นคลังความรู้ให้คนทั่วไปสามารถสืบค้นได้โดยง่าย นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพได้จริง

วัตถุประสงค์ ->

          ๑. การฝึกอบรมชี้แจงวิธีการ ตลอดจนทำคู่มือที่สามารถใช้งานได้จริง โดยจังหวัดศรีสะเกษ กำหนดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเว็บไซต์และสัมมาชีพชุมชน จำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑๑ อำเภอ ๆ ละ ๒ คน ในระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแก่ผู้รับชอบ และสาธิตการเพิ่มเติมข้อมูลในเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน

          ๒. การจัดเก็บองค์ความรู้ของปราชญ์ชุมชน และเทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ดำเนินการจัดเวทีการประชุมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ และข้อมูลปราชญ์ชุมชน และกำหนดให้การถอดองค์ความรู้เป็นเนื้อหาหลักอย่างหนึ่งในการจัดเวที

          ๓. ขั้นตอนการเพิ่มข้อมูล

                   ๓.๑ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในระดับอำเภอ ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่จัดเก็บจากเวทีการประชุมฯ

                   ๓.๒ เข้าเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน และเข้าสู่ระบบด้วย Username และ password ที่จังหวัดศรีสะเกษกำหนด

                   ๓.๒ เพิ่มข้อมูลองค์ความรู้/ทะเบียนปราชญ์ชุมชน ข้อมูลสินค้า/บริการในตลาดนัดสัมมาชีพชุมชน และประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานในหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน ให้ได้จำนวนตามที่จังหวัดกำหนด

          ๔. การส่งเสริม แก้ไขปัญหา ประสานในการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล

                   ๔.๑ เจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานผ่านระบบติดตามในหน้าเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชน

                   ๔.๒ การประสานแก้ไขปัญหา ในกรณีเกิดปัญหา เช่น ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้ หรือเพิ่มเติมข้อมูลแล้ว ข้อมูลไม่แสดง เป็นต้น เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดต้องรีบประสานขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ในระดับกรมฯ ในทันที แล้วแจ้งวิธีการแก้ไขปัญหาตามคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่อำเภอโดยเร็ว

                   ๔.๓ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล โดยตรวจสอบการเพิ่มข้อมูลในแต่ละหัวข้อมีความครบถ้วนหรือไม่ มีการใส่ภาพประกอบหรือไฟล์ที่จำเป็นหรือไม่ รวมทั้ง ตรวจสอบการแสดงผลของข้อมูลในหน้าเว็บไซต์สัมมาชีพด้วย

 

          เทคนิคการจัดทำคู่มือการใช้งานโดยละเอียดเพื่อสร้างความรู้เข้าใจให้ผู้บันทึกข้อมูลสามารถนำปฏิบัติงานได้จริง

๑.   การใช้แอพพลิเคชั่น Line ในการแคปเจอร์หน้าจอ เพื่ออธิบายชี้แจงขั้นตอนโดยละเอียด เช่น การเพิ่มข้อมูลในตลาดสัมมาชีพชุมชน (ซึ่งกรมฯ ไม่ได้จัดทำคู่มือและคำอธิบายไว้)

๒.   การสาธิตและจัดทำตัวอย่างการเพิ่มข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอได้ดำเนินการเพิ่มข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และสามารถขอคำแนะนำได้ตลอดเวลาผ่านทางแอพพลิเคชั่น Line

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.    การสื่อสารชี้แจงสร้างความเข้าใจ โดยประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมการใช้งานเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบการพัฒนาเว็บไซต์และรับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชน

๒.    คุณภาพของข้อมูลความรู้ที่ได้ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบ ต้องจัดเก็บองค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน โดยการสัมภาษณ์หรือการสังเกตจากการสาธิตทำอาชีพต่าง ๆ แล้วกรอกลงในแบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูล ก่อนนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ

๓.    การสร้างทีมงานเครือข่ายให้การช่วยเหลือ โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศประจำกลุ่มโซนอำเภอ ทำหน้าที่ประสานและให้การช่วยเหลืออำเภอในกลุ่มโซน เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดต้องทำหน้าที่ประสานขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในระดับกรมฯ รวมทั้ง การจัดทำคู่มือเพิ่มเติมโดยละเอียดเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ

๔.    กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาเป้าหมายที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดว่า สามารถเพิ่มเป้าหมายการดำเนินงานให้มากกว่าที่กรมฯ กำหนด หรือจำเป็นต้องดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมฯกำหนด เช่น การบันทึกองค์ความรู้ของปราชญ์ชุมชน กรมฯ กำหนดให้จัดเก็บและเพิ่มข้อมูล หมู่บ้านละ ๑ เรื่อง จังหวัดพิจารณาว่าสามารถจัดเก็บและเพิ่มข้อมูลได้หมู่บ้านละ ๕ เรื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลองค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านสัมมาชีพมากที่สุด , กรมฯ กำหนดให้จัดเก็บและเพิ่มข้อมูลปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ ๕ คน จังหวัดพิจารณาแล้วจึงกำหนดเป้าหมายให้จัดเก็บและเพิ่มข้อมูลปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ ๕ คน เท่ากับที่กรมฯ กำหนด โดยเป้าหมายต้องชัดเจนและชี้แจงให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานในพื้นที่รับทราบและถือปฏิบัติ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา