เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

กองทุนหมู่บ้านกับการขับเคลื่อนสัมมาชีพในชุมชน

โดย : นายสมยศ รำจวน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-08-16:44:26

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ตามที่ รัฐบาลได้กำหนดโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้จัดสรรเงินให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนเมืองทั่วประเทศแห่งละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา ๑๖ ปีที่ได้ดำเนินการมา ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษมีหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับการจัดสรรเงินทุน จำนวนทั้งสิ้น ๒,๖๖๙ กองทุน  ทั้งนี้รัฐบาลโดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(สทบ.)ได้ดำเนินการเพิ่มทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง     ที่มีผลการบริหารจัดการดีเด่น จำนวน ๓ ครั้ง

     ครั้งที่ ๑ เพิ่มทุนแห่งละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๖  ตามผลการประเมินจัดระดับที่ได้ระดับ A

     ครั้งที่ ๒ การเพิ่มทุนระยะที่ ๒ ตามจำนวนสมาชิก ตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ – ๖๐๐,๐๐๐บาท เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒

     ครั้งที่ ๓ การเพิ่มระยะที่ ๓ มีการเพิ่มทุนให้กองทุนหมู่บ้าน จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ.๒๕๕๕

และในปี พ.ศ.๒๕๕๙ รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการประชารัฐ กองทุนละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของที่ประชุมสมาชิก และยกระดับรายได้ให้แก่สมาชิกกองทุนอีกทางหนึ่ง

    ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปีสมาชิกได้มีโอกาสกู้เงินไปดำเนินกิจกรรมตามความถนัดของตนเองในระดับครัวเรือน ทำให้เกิดสัมมาชีพชีพมากหมายไม่ว่าจะเป็นอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ ปลูกพริก ปลูกข้าวอินทรีย์    เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

                  กองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบสัมมาชีพในระดับชุมชนมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ รวมระยะเวลา ๑๖ ปี ถือเป็นจุดแข็ง เพราะชุมชนมีทุนในการขับเคลื่อนสัมมาชีพ

กระบวนการ/วิธีการในการดำเนินงาน

                 ๑.การสร้างความเข้าใจกับคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน ๒๒ คณะในการให้ความรู้การขับเคลื่อนสัมมาชีพ พร้อมมอบคณะกรรมการเครือข่ายให้ลงไปชี้แจงในระดับกองทุนทุกกองทุน เพื่อให้สมาชิกมีความรู้ในแนวทางสัมมาชีพชุมชน

                 ๒.ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำฐานข้อมูลอาชีพสมาชิกที่กู้เงินไปประกอบอาชีพ

                 ๓.จัดเรียงลำดับอาชีพที่ประสบความสำเร็จจำนวน ๒๐-๓๐ คน

                 ๔.ประสานปราชญ์สัมมาชีพชุมชนในการเข้าไปให้ความรู้และแนวทางการขับเคลื่อน

                 ๕.ครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จขับเคลื่อนสัมมาชีพตนเองให้เป็นไปในแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพในชุมชน

                 ๖.ส่งเสริมสนับสนุนจากจังหวัด อำเภอและคณะกรรมการเครือข่ายฯเพื่อให้แนวทางที่ถูกต้องและให้กำลังใจ

                 ๗.คัดเลือกสัมมาชีพชุมชนที่เป็นต้นแบบ

                 ๘.ต่อยอดสัมมาชีพชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

             ๑.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับและผู้ที่เครือข่ายจ้างให้ปฏิบัติงานในสำนักงาน

             ๒.คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านฯระดับอำเภอ

             ๓.ปราชญ์สัมมาชีพ

             ๔.สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

อุปกรณ์ ->

         การไม่สร้างความรู้ในเรื่องสัมมาชีพให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและการไม่บูรณาการกับเครือข่าย       และปราชญ์สัมมาชีพเพื่อจูนแนวคิดให้ตรงกัน ทำไปทำไม่ ทำแล้วได้อะไร เกิดประโยชน์อย่างไร มีผลต่อคน   ในชุมชนอย่างไร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา