เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำหัตถกรรมจากใบตอง

โดย : นายสมจริต ศรีเลิศ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-03-17:18:18

ที่อยู่ : บ้านเลขที ๕๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยตึ๊กชู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป

วัตถุประสงค์ ->

1.      คัดเลือกใบตองที่เขียวสด นำใบตองมาเช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออกจากใบตองเสียก่อน  โดยการเช็ดจะต้องใช้ผ้าเช็ดไปในทางเดียว อย่าเช็ดกลับไปกลับมา แล้วฉีกใบตองประมาณ 2 นิ้ว เพื่อเตรียมไว้พับหรือม้วนทำกรวยบายศรี

2.      การพับหรือห่อกรวย หมายถึงการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้แล้วสำหรับพับกรวย มาพับ โดยการพับกรวยแม่และกรวยลูกจะมีลักเหมือนกัน คือ การนำใบตองมาพับม้วนให้เป็นกรวยปลายแหลม เมื่อพับหรือม้วนใบตองเป็นกรวยเสร็จในแต่ละกรวยแล้ว ให้นำลวดมาเย็บใบตองไว้เพื่อป้องกันใบตองคลายตัวออกจากกัน แล้วเก็บกรวยแต่ละประเภทไว้จนครบจำนวนที่ต้องการเมื่อได้กรวยแต่ละจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็นำกรวยที่ได้มาห่อ โดยการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้สำหรับห่อมาห่อกรวย หรือเรียกอีกอย่างว่า ห่มผ้า หรืบายศรี

3. การะประกอบพานบายศรี คือการนำริ้วที่ทำเสร็จแล้ว มาประกอบเข้ากับพานที่ได้เตรียมไว้ การนำริ้ว

    มาประกอบจะเริ่มที่พานที่วางชั้นล่างสุดก่อนซึงจะยึดติดกับพานโดยใช้ไม้ปลายแหลมมากลัด จากนั้นก็

    นำดอกไม้สีสดมาประดับตกแต่ง หรือทำอุบะร้อยรอสวยงามมากขึ้น    

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา