เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิกการเลี้ยงปลาหมอ

โดย : นายละมาย คุณสอน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-03-21:23:03

ที่อยู่ : 89 ม.12 ต. ละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาหมอไทย เป็นปลาที่มีรสมัน เนื้อแน่น นุ่ม ก้างน้อย สามารถประกอบอาหารหรือแปรรูปได้หลากหลาย ทั้งต้มยำ แกง ย่าง ทอด ทำปลาร้า ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง และอื่นๆ ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาด และนิยมบริโภคกันมาก ทั้งในประเทศ และการส่งออก

ปลาหมอไทยเป็นปลาที่มีความทนในสภาพที่มีน้ำน้อยหรือขาดน้ำ จึงสามารถขนส่ง และจำหน่ายในรูปปลาสดที่มีชีวิตในระยะทางไกลๆได้ เป็นปลาที่ต้องการทางตลาดทั้งภายใน และต่างประเทศสูงในแต่ละปี (จีน ไต้หวัน เกาหลี มาเลเซีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง) โดยเฉพาะปลาหมอที่มีขนาดใหญ่ (3-5 ตัว/กิโลกรัม) ราคาจำหน่ายในประเทศ กิโลกรัมละ 100-150 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และฤดูกาล ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งใน และต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงในบ่อดิน

เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่

สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา

อาหาร และการให้อาหาร
อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การดูแล

อุปกรณ์ ->

โรคที่พบในปลาหมอไทย
โรคปลาหมอไทยที่พบบ่อย ดังนี้
1. โรคตกเลือดซอกเกล็ด
เกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียว (Epistylissp.) ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย ปลาหมอที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกิดแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว พบมากบริเวณครีบ และซอกเกล็ด หากเป็นมากจะทำให้เกล็ดหลุดหรือติดเชื้อราร่วมด้วยจนเป็นโรคเกล็ดพองได้

2. โรคเกล็ดพอง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ปลาหมอที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกล็ดพองตามลำตัว หรือเกล็ดตั้งอ้าออก มีอาการตกเลือดตามฐานซอกเกล็ด ร่วมด้วยกับลำตัวบวมโต

3.โรคแผลตามลำตัว
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าทำลายเม็ดเลือดแดง ปลาหมอที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกล็ดหลุด และผิวหนังเปื่อยลึกมองเห็นเนื้อด้านใน แผลมีการกระจายทั่วลำตัว และมักพบการติดเชื้อราร่วมด้วย เช่น โรคอิพิซู โอติด อัลเซอร์เรทีพ ซินโดรม (Epizootic Ulcerative Syndrome) ที่พบแผลมีเส้นใยของเชื้อราฝังอยู่

4.โรคจุดขาว
เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (Ichthyophthirius inultifilis) เข้ากัดกินเซลล์ผิวหนัง  ปลาหมอที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปรากฏจุดขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดบริเวณลำตัว และครีบ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา