เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิกการเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายบุญรุด อสิพงษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-03-22:07:15

ที่อยู่ : 9 ม.6 ต. ละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

วิธีการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในวัสดุเพาะหลายชนิด เช่น ขี้เลื่อย ฟางสับ หรือซังข้าวโพด แต่วัสดุที่ดีที่สุดคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งมีวิธีการผลิตก้อนเชื้อดังต่อไปนี้

การทำก้อนเชื้อจากฟางสับ

ฟางที่ใช้เพาะควรเป็นฟางที่แห้งสนิท ไม่มีเชื้อราปะปนหรือมีกลิ่นเหม็น สูตรอาหารที่ใช้คือ ใช้ฟางสับยาว 2-3 นิ้ว 100 กก. ปุ๋ยนา(สูตร 16-20-0) 1 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ปูนขาว 1 กก. ความชื้น 70-75 % โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

1.  นำฟางสับไปแช่น้ำหรือรดน้ำให้ทั่ว แล้วผสมปุ๋ยและดีเกลือลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วทำเป็นกองสูงคลุมด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3 วัน ในวันที่ 3,4,5 และ6 ให้กลับกองฟางทุกวัน

2.  ในวันที 7 ให้ใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง และไล่ก๊าซแอมโมเนียที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักฟางคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วต่ออีก 1-2 วัน

3.  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อควรมีขนาด 8 ขีด ถึง 1 กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้ว ใส่คอขวดพลาสติก อุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ แล้วรัดยางให้แน่น

4.  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันที ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. นับจากน้ำเดือด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น

5.  นำหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10-20 เมล็ดต่อก้อนเขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว แล้วรีบปิดปากถุงด้วยสำลีและกระดาษทันที สถานที่ที่ใช้ถ่ายหัวเชื้อเห็ดลงก้อนเชื้อควรสะอาดลมสงบ วัสดุที่ใช้เขี่ยหัวเชื้อควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง

6.  แล้วนำก้อนเชื้อที่ถ่ายหัวเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่มก้อนเชื้อต่อไป

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การตลาด

อุปกรณ์ ->

เห็ดนางฟ้ามีคุณสมบัติทางกลิ่นจึงทำให้เป็นที่ดึงดูดของโรคและแมลงซึ่งเป็นศัตรูของเห็ดนางฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีศัตรูเห็ดรบกวนหลายชนิดด้วยกัน คือ

                1.หนูและแมลงสาบ ควรกำจัดโดยใช้ยาเบื่อ หรือ กับดัก ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดที่เป็นอัตรายต่อผู้บริโภคเพราะอาจจะทำให้เห็ดเป็นพิษและทำให้เห็ดเน่าได้

        2.ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อ และดอกเห็ดทำให้ผลผลิตลดลง ไรจะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมม และ การป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า โดยการรักษาความสะอาดโรงเรือนอยู่เสมอ การใช้สารเคมีกำจัด ไม่ควรทำเพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

                3.แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะมาตอมและวางไข่และขยายพันธุ์ควรย้ายก้อนเหล่านั้นออกจากโรงเรือนแล้วทำลายทิ้งเพื่อป้องการการแผ่ขยายไปยังก้อนเชื้ออื่น ๆ

                4.โรคจุดเหลือง เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บ หรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก ไม่สะอาด ควรแยกเห็ดที่เป็นโรคออกแล้วนำไปทำลาย

                5.ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด สามารถระบาดโดยสปอร์ได้ ควรป้องกันโดยเอาก้อนที่หมดอายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม

        น้ำที่ใช้การรดน้ำเห็ดนางฟ้าให้ได้ผลดีนั้นควรเป็นน้ำที่สะอาดไม่มีสารเคมีและสิ่งสกปรกเจือปนไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบ่อหรือน้ำคลอง แต่ไม่ควรเป็นน้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำที่เป็นกรด หรือด่าง ถ้าเป็นน้ำประปาควรจะกักไว้ในภาชนะปากกว้างทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อนจึงจะนำไปรดได้ การรดน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้านั้นควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในโรงเรือนให้ได้นานที่สุด สังเกตดูว่าถ้าอากาศแห้งก็สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการรดได้อีก การรดน้ำนอกจากจะเป็นการรักษาความชื้นแล้ว ยังเป็นการรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเห็ดนางฟ้า

                เครื่องมือที่ใช้รดน้ำเห็ดใช้ได้ทั้งบัวรดน้ำฝอยละเอียด สายยางธรรมดาติดปลายด้วยฝักบัวฝอยละเอียด หรือใช้สเปรย์ฝอยละเอียดด้วยเครื่องพ่นยาก็ได้ การรดน้ำเห็ดนางฟ้าไม่ควรรดจนโชกหรือมีน้ำขัง ให้พยายามรดน้อย แต่รดบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการรักษาโรงเรือนให้มีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา การรดน้ำต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำเข้าในก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า จำหลักการง่าย ๆ คือ ควรรดน้ำให้ภายในโรงเรือนชื้น เย็น แต่ต้องไม่เข้าในก้อนเชื้อ ถ้ามีน้ำเข้าในก้อนต้องกรีดถุงเพื่อให้น้ำไหลออก มิฉะนั้นก้อนเชื้อจะเน่าเสียได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา