เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำพานบายศรีฯ

โดย : นายสุวรรณ มูลจัด ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-03-18:23:15

ที่อยู่ : บ้านเลขที ๑๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยตึ๊กชู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบทอดความรู้มาจากรุ่นแม่ รุ่นยาย และด้วยความที่ชอบอยู่แล้วก็เลยศึกษาเพิ่มเติมจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ

วัตถุประสงค์ ->

1.      ใบตองที่ได้ทำความสะอาดแล้ว นำมาฉีกเพื่อเตรียมไว้สำหรับม้วนหรือพับทำกรวยบายศรี

2.      นำใบตองมาพับม้วนให้เป็นกรวยปลายแหลม นำดอกพุดมาวางเสียบไว้ที่ส่วนยอดปลายแหลม

ให้เป็นกรวยลูก  ส่วนกรวยแม่ไม่ต้องเสียบดอกพุด  แล้วนำลวดเย็บกระดาษมาเย็บใบตองไว้

เพื่อไม่ให้ใบตองคลายตัวออกจากกัน  

3.      นำกรวยแม่และกรวยลูกมาห่อด้วยใบตองที่ฉีกเตรียมไว้ (เรียกว่าริ้ว) ลงแช่ในกาละมังหรือถังน้ำ

ผสมสารส้มประมาณ 20 นาที  จากนั้นนำไปแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอก

4.      นำริ้วที่ทำเสร็จและแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกแล้ว  มาประกอบเข้ากับพานบายศรี 3 ชั้น     

ควรเริ่มประกอบจากพานที่วางอยู่ชั้นล่างสุดก่อน โดยวางให้ริ้วอยู่บนพานมีระยะห่างเท่า ๆ กันทั้งหมด 4 ริ้ว  

ใช้ไม้ปลายแหลมมากลัดจากด้านบนของริ้วให้ทะลุไปยึดติดกับโฟมที่รองไว้บนพื้นพาน  การประกอบริ้วกับพานตามขนาดกลางและเล็กจะต้องให้ริ้วชั้นที่ 2 วางสลับกับริ้วชั้นแรก และริ้วบนพานชั้นบนสุด ก็ให้สลับกับริ้วบนพานชั้นกลาง

           5.  การประกอบริ้วกับพานชั้นบนสุดให้ห่อใบตองเป็นกรวยขนาดใหญ่เป็นแกนกลาง  ให้รวบปลายสุด ของริ้วทั้ง 4 เข้าหากัน แล้วนำใบตองม้วนเป็นกรวยขนาดใหญ่อีกกรวยมาครอบทับยอดทั้ง 4 ของริ้วไว้

           6.  นำดอกบานไม่รู้โรยหรือดอกดาวเรืองมาวางรองบนพาน  เพื่อไม่ให้มองเห็นโฟมที่รองพื้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ใบตองที่นำมาใช้สำหรับทำบายศรี มักนิยมใช้ใบตองจากกล้วยตานี เนื่องจากเป็นใบตองที่มีลักษณะเป็นเงา มันวาว เมื่อโดนน้ำจะยิ่งเกิดประกายสีเขียวเข้มสวยงามยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ใบตองจากกล้วยตานี มีความคงทน ไม่แตกง่าย ไม่เหี่ยวง่าย สามารถนำมาพับม้วนเป็นรูปลักษณะต่างๆได้ง่าย และสามารถเก็บไว้ได้นานหลายวัน หรือถ้ารักษาโดยหมั่นพรมน้ำบ่อยๆ ใบตองกล้วยตานี จะสามารถคงทนอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ทีเดียว

เมื่อได้ใบตองกล้วยตานีมาแล้ว จะต้องนำมาทำความสะอาดก่อน ด้วยการเช็ด โดยใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออกจากใบตองเสียก่อน โดยการเช็ด จะต้องใช้ผ้าเช็ดตามรอยของเส้นใบไปในทางเดียว อย่าเช็ดกลับไปกลับมา หรืออย่าเช็ดขวางเส้นใบเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ใบตองเสียหาย มีรอยแตก และช้ำ ทำให้ไม่สามารถนำใบตองมาใช้งานได้เต็มที่
เมื่อเช็ดสะอาดดีแล้ว ก็ให้พับพอหลวมๆ เรียงซ้อนกันไว้ให้เป็นระเบียบ เพื่อรอนำมาใช้งานในขั้นตอนต่อไป

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา