เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคปลูกกระเทียมปลอดสาร

โดย : นายสุวรรณ บุญมา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-05-14:22:32

ที่อยู่ : 8 หมู่ที่ 1 ตำบลโนนปูน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันกระแสความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เกษตรกรเองก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพราะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ดินตาย หรือความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน และปัญหาของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทนแนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดินตายกลับกลายเป็น ดินที่มีชีวิตสามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตามและต้องเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ แนวทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี โดยการนำทรัพยากรธรรมขาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนเป็นอาชีพที่มั่นคง 

ความสมดุลตามธรรมชาติ ที่มาของเกษตรอินทรีย์
โดยธรรมชาติของป่าไม้จะมีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมดมีใบไม้หล่นทับถมกันสัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากันกับใบไมและซากพืชมูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็กๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัสซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเองดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรการสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืชไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่าแต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นมี่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพมีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรการจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นา โดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด ซึ่งเป็นที่มาของการเกษตรในระบบอินทรีย์หลักการผลิตผักอินทรีย์ เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยหลักทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช แมลงและสภาพแวดล้อมควบคู่กันไปทุกด้าน

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมพันธุ์กระเทียม

                                กระเทียมพันธุ์ที่จะใช้ปลูก  ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย  2  เดือน  เพราะกระเทียมที่ใช้ปลูกควรมีระยะพักตัวอยู่สักระยะหนึ่ง  แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน  เพราะระยะนี้กระเทียมจะเริ่มแทงยอดอ่อนสีเขียวพ้นหัวเก่ามาแล้ว  ให้นำหัวหอมมาตัดแต่งทำความสะอาด  ตัดเล็มรากเก่า  และใบแห้งทิ้งให้หมด  ในพื้นที่  1  ไร่   จะใช้หัวหอมพันธุ์ประมาณ  200  กิโลกรัม   

ระยะปลูก

                                ปลูกเป็นแปลงขนาดกว้าง  1 – 1.5  เมตร  ความยาวของแปลงเป็นไปตามความสะดวกในการปฏิบัติงาน  ระยะปลูก  15 – 20  ซม.  หรือ  20 – 20  ซม.

เทคนิคการปลูก

                                ก่อนปลูกจะรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่มชื้นไว้ล่วงหน้า   นำหัวกระเทียมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง  โดยเอาส่วนโคน  หรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว  ระวังอย่ากดแรงจะทำให้ลำต้นหรือหัวช้ำ  จะทำให้ไม่งอกหรืองอกรากช้า   เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลงให้คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาพอสมควร  เป็นการรักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช   จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม  ๆ  ต้นหอมจะออกมาภายใน  7 – 10  วัน  หากหัวใดไม่งอกให้ทำการปลูกซ่อมทันที

การดูแลรักษา

                                การให้น้ำ  กระเทียมต้องการน้ำมาก  และสม่ำเสมอในระยะเจริญเติบโตและแตกกอ  หากปลูกในที่ที่มีอากาศแห้งและลมแรง  อาจต้องให้น้ำบ่อย  ๆ  ช่วงอากาศแห้งมาก  ๆ  ระยะแรกอาจให้น้ำวันละ  2  ครั้ง 

                                การให้ปุ๋ย   -      เมื่ออายุ  14  วันหลังจากปลูก  ใส่ยูเรียอัตรา  20  กิโลกรัม/ไร่

-                   เมื่ออายุ  35 -40  วัน  ใส่ปุ๋ยสูตร  15 – 15 -15  อัตรา  20 – 50 กิโลกรัม/ไร่

การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่างต้น   หรือจะใช้วิธีโรยทั่วแปลงก็ได้   หลังจากให้ปุ๋ยให้เอาน้ำรดหรือน้ำเข้าแปลงทันที  

การกำจัดวัชพืช

                                ควรกำจัดวัชพืชบ่อย  ๆ  เมื่อวัชพืชยังเล็ก  หากโตแล้วจะทำการกำจัดยากและจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก  

โรคแมลง

                                โรคราน้ำค้าง   ในแปลงที่ปลูกจะไม่มีการใช้สารเคมีกำจัด  จะปล่อยตามธรรมชาติ

การเก็บเกี่ยว

                               โดยปกติ  กระเทียมที่ปลูกในฤดูหนาว  จะแก่จัดเมื่ออายุ 70 – 110  วัน  ถ้าปลูกในฤดูฝนจะสามารถเก็บได้เมื่ออายุประมาณ  60 วัน แต่ผลผลิตของกระเทียมทั้ง 2 ฤดูแตกต่างกัน  คือในฤดูหนาวจะให้ผลผลิตมากกว่า 2 - 3 เท่าของในฤดูฝน  จึงเป็นเหตุให้หอมแดงในฤดูฝนมีราคาสูงกว่า

                                กระเทียมที่เริ่มแก่แล้วจะสามารถสังเกตได้จากสีของใบจะเขียวจางลง  ปลายใบเริ่มเหลืองและใบมักจะถ่างออก  เอนล้มลงมากขึ้น ถ้าบีบส่วนคอ  คือบริเวณโคนใบต่อกับกระเทียม จะอ่อนนิ่ม  ไม่แน่นแข็ง  แสดงว่าหอมแก่แล้ว

                                หลังจากเก็บเกี่ยว  ต้องนำมาผึ่งลมในที่ร่มให้ใบเหี่ยวแห้ง  จากนั้นมัดเป็นจุก  คัดขนาด  และทำความสะอาด  คัดพันธุ์แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่ม  เช่นใต้ถุนบ้าน  ให้มีลมโกรก  เพื่อระบายความชื้นจากหัวและใบหอม  ไม่ให้ถูกแดด  ฝน  หรือน้ำค้าง  หอมแดงหากเก็บไว้ในอากาศอบอ้าวจะเกิดโรคราสีดำ   และเน่าเสียหายเช่นเดียวกับกระเทียม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา