เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปุ๋ยชีวภาพ

โดย : นายลด สุภาพ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-02-21:27:26

ที่อยู่ : 99 บ้านติ้ว หมู่ที่ ๖ ตำบลไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สังคมไทยได้พัฒนาการผลิตอาหารให้แก่ดิน หรือปัจจุบันเรียกว่า ปุ๋ย ไว้หลายรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับธรรมชาติ ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

วัตถุประสงค์ ->

ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า

วัสดุที่ใช้

1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด 5 ส่วน

2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน

3. แกลบดำ 2 ส่วน

4. รำละเอียด 2 ส่วน

5. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน

6. น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน

วิธีทำ

1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี

2. รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป

3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน จึงนำไปใช้ได้

4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ๆ

วิธีใช้

1. ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่า ๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุง หรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง

2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ได้จากประสบการณ์ของเกษตรกร และนักวิชาการเครือข่ายต่าง ๆ ที่พัฒนามาจนได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ให้คุณค่าทางธาตุอาหารโดยตรงแก่พืช และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างอาหาร

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้พอดีประมาณ 30%

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา