เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการเพาะพันธุ์ไก่พื้นเมืองให้ได้ลูกดก

โดย : นายบุญเดช ทองดี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-02-05:58:47

ที่อยู่ : 10 ม.13 ต.ดู่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

วัตถุประสงค์ ->

1. ควรคัดเลือกตัวไก่ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดย 
- คัดพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี เช่น ทรวงอกกว้าง สีเหลืองเข้ม และลึก สง่างาม ดวงตาสดใสเป็นประกาย ขนดกมันงาม แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
- ใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงอายุที่เหมาะสม ไม่หนุ่มหรือแก่จนเกินไป
- แลกเปลี่ยนหรือซื้อหาพ่อไก่ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด

2. จัดการให้แม่ไก่ฟักไข่และได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นพร้อมๆ กัน กระทำได้โดย
- ไม่ให้แม่ไก่ฟักไข่ช่วงหน้าร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกๆ ปี ไข่ที่ได้ในช่วงนี้ให้นำไปบริโภคหรือจำหน่าย หากแม่ไก่มีพฤติกรรมอยากฟักไข่ ให้นำไปจุ่มน้ำเปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว
- แยกลูกไก่ออกจากแม่เมื่อลูกไก่มีอายุ 7-14 วัน โดยกระทำพร้อมกันหรือไล่เลี่ยทุกแม่ จากนั้นนำแม่ไก่ไปขังรวมกัน และกำหนดตัวพ่อพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ในแต่ละรุ่น ส่วนลูกไก่นำไปเลี้ยงอย่างดี พร้อมให้อาหารเสริม
- แม่ไก่ที่ขังรวมกันจะเริ่มไข่ใหม่และไข่ในเวลาใกล้เคียงกัน การจัดการโดยการจับแม่ไก่ไปจุ่มน้ำให้เปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยลดพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของแม่ไก่ และช่วยให้ไข่ชุดใหม่เร็วขึ้น ทั้งนี้ควรให้อาหารเสริมร่วมด้วย
- เมื่อแยกลูกไก่ทุกๆ รุ่นจากแม่ไก่ทุกแม่เช่นนี้ตลอดไป จะได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นๆ มีปริมาณมากพอที่จะทำวัคซีนแต่ละครั้ง สะดวกต่อการให้อาหารเสริม และใช้ยาควบคุมหรือป้องกันโรคได้ เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ลูกไก่ 7 รุ่น/แม่/ปี หรือประมาณ 70 ตัว/แม่/ปี ซึ่งไม่นับรวมกับไข่ที่นำไปบริโภคหรือจำหน่ายในช่วงฤดูร้อ

3. ทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน

4. ถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แม่ไก่ได้รับอาหารและการดูแลมากขึ้น
2. หาแต่แม่ไก่ที่มีพันธุ์ดีๆ ต้านทานโรคดี ผลผลิตดี (เนื้อและไข่) ก็จะดีตามมาเอง
3. เริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ ไปก่อน ไม่ควรเริ่มทำเป็นฟาร์มใหญ่ทันที เพราะ
- สามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยดูแลไก่ได้อย่างเต็มที่
- ผลผลิต (เนื้อ/ไก่) ใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นอันดันแรก ส่วนที่เหลือจึงไว้ขาย

อุปกรณ์ ->

วิธีการป้องกันโรค
1. ภายในคอก ถ้าไม่จำเป็นห้ามให้คนอื่นเข้าไป เพราะคนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญที่สุด
2. เมื่อมีไก่ตายอย่าเสียดาย เผา หรือฝังทันที อย่านำไปทิ้งหรือให้คนอื่นไปพอพ้นๆ คอก เพราะนอกจากจะแพร่ระบาดที่คอกคนอื่นแล้วคอกตัวเองก็จะไม่พ้นเช่นกัน
3. ถ้าได้ยินข่าวว่าไก่ในหมู่บ้านป่วยหรือตาย ให้รีบขังไก่ ให้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินไว้ก่อน ในช่วงนี้อย่าทำวัคซีน
4. ถ้านำไก่จากที่อื่นมา ก่อนจะนำเข้าฝูง ควรขังดูอาการสัก 7 วัน เมื่อเห็นว่าปกติแล้วจึงให้วัคซีนดูอาการอีกครั้ง 7 วัน ถ้าปกติค่อยปล่อยรวมฝูง
5. ควรให้ยาถ่ายพยาธิไก่ทุกๆ 3 เดือน โดยเฉพาะไก่ใหญ่ควรให้ยาถ่ายพยาธิก่อนให้วัคซีนสัก 7 วัน
6. การป้องกันโรคด้วยวัคซีนควรทำตามขั้นตอน แม้จะเหนื่อยแต่ก็คุ้ม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ควรปฏิบัติ
1. แม่ไก่ควรได้รับอาหารและการดูแลมากขึ้น (โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น)
2. ควรหาแต่แม่ไก่ที่มีพันธุ์ดีๆ ต้านทานโรคดี ผลผลิตดี (เนื้อและไข่) ก็จะดีตามมาเอง
3. ควรเริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ ไปก่อน ไม่ควรเริ่มทำเป็นฟาร์มใหญ่ทันที เพราะ
- สามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยดูแลไก่ได้อย่างเต็มที่
- ผลผลิต (เนื้อ/ไก่) ใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นอันดันแรก ส่วนที่เหลือจึงไว้ขาย

ปัญหาในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา