เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพการปลูกกล้วยน้ำว้า

โดย : นางเครือ เจียวรัมย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-01-23:31:17

ที่อยู่ : 48 หมู่ที่ 17 บ้านสวนป่า ต.บักดอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านโพนขาว ส่วนใหญ่เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ ทุกๆเรื่อง ทั้งในเรื่องตั้งแต่เกิด จนตาย ชีวิตความเป็นอยู่อาหารการกิน โดยเฉพาะเรื่องของกล้วย ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกได้ทุกที่ ซึ่งชาวบ้านจะปลูกตามบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หัวไร่ปลายนา เป็นการปลูกเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน เริ่มตั้งแต่ลำต้นเป็นทั้งอาหารคน อาหารสัตว์(ใช้เลี้ยงหมู) อาหารพืชด้วยกันเอง(ทำปุ๋ย) หรือจะใช้ในงานประเพณีต่างๆใบ ใช้ห่อหมก กระทง หรือใช้ทำเป็นของเล่นเด็ก ทำเป็นปืน ทำม้าก้านกล้วย หัวปลี ใช้ทำอาหาร ประดับตกแต่ง กล้วย ใช้ทำอาหารหวาน คาว ทำพิธีกรรมทางศาสนาและประโยชน์อื่นๆอีกมายมาย
จากสถานการณ์บ้านเมือง ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การปลูกกล้วยที่เคยปลูกหัวไร่ปลายนาปลูกตามบ้านเรือน จากการแลกเปลี่ยนเป็นของฝาก เป็นการซื้อขายเข้ามาแทนที่การปลูกเป็นการทำเพื่อการพานิชย์ มีการซื้อขายที่ชัดเจน มีการปลูกเป็นธุรกิจเชิงตลาดและปลูกเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ปลูกตามหลักวิชาการ รวมทั้งมีการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตขึ้นไปอีก ทั้งในเรื่องการรวมกลุ่มปลูกเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การแปรรูป การตลาด

วัตถุประสงค์ ->

1.      ใช้เวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเตรียมความพร้อมของวิทยากร
2. สอบถามพร้อมสรุปองค์ความรู้ในการถ่ายทอดด้านอาชีพทางเลือก ของปราชญ์แก่สมาชิกครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 20 ครัวเรือน
3. ให้ความรู้ ความเข้าใจเทคนิคการปลูกกล้วย ให้ครัวเรือนเป้าหมายที่สนใจอาชีพปลูกกล้วยน้ำหว้า
4. ดาเนินการสาธิตขั้นตอน เทคนิกการปลูกกล้วยแก่ครัวเรือนเป้าหมาย ทั้ง 20 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      ความพร้อมขององค์ความรู้ของวิทยากรสัมมาชีพ ในการถ่ายทอดให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
2. ความตั้งใจ และให้ความสนใจของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน
3. ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดองค์ความรู้ของครัวเรือนสัมมาชีพ

อุปกรณ์ ->

1.. การตัดแต่งหน่อกล้วยน้ำหว้า หลังการปลูกประมาณ 7- 8 เดือน หลังการปลูกควรมีการไว้หน่อทดแทน1 – 2 หน่อ โดยเลือกหน่อที่อยู่ทิศทางตรงกันข้าม
2. การตกแต่งใบกล้วย ควรมีการตัดแต่งใบแก่ ใบที่เป็นโรคทิ้งตลอด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      การใส่ปุ๋ยหลังการปลูก สูตร 13 – 13 -21 หรือ 15 – 15 – 15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต้น/ปีแบ่งใส่ 4 ครั้ง หรือทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน
2. การให้น้ำที่ผิวดินที่ชุ่มชื้นตลอดเนื่องจากรากจะหากินบริเวณผิวดิน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา