เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายโชติ ธรรมสา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-01-22:55:45

ที่อยู่ : 5 หมู่ 3 บ้านไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

น้ำหมักชีวภาพ เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยการใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งให้พลังงาน  ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด ที่มีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายเช่น ด้านการเกษตร ใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช หรือใช้ในด้านปศุสัตว์ลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ ป้องกันแมลงวัน ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโทษและเชื้อโรคได้

วัตถุประสงค์ ->

ส่วนผสมที่สำคัญ คือเศษพืช ผัก ผลไม้สุก หรือสัตว์ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย
          1. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้          

          2. ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
          3. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ต้องมีความตั้งใจ มีความอดทนเพราะการหมักใช้ระยะเวลา ไม่มีสูตรตายตัว เราสามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา และประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่เห็นผลทันทีเหมือนการใช้สารเคมี แต่มีผลในระยะยาวทำให้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเกิดความสมดุลในที่สุด

2. ความใส่ใจในขั้นตอนการหมัก หมั่นดูแล สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของน้ำหมักเพราะอายุการใช้งานก็เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่ง น้ำหมักบ้างชนิดมีอายุการใช้นานสั้นเพียง 3 เดือน ถ้าใช้ไม่หมดก็ต้องหมักใหม่

อุปกรณ์ ->

1. การนำไปใช้ในด้านต่างๆ ควรศึกษาก่อนการนำไปใช้ อัตราส่วนต่างที่ให้มีความแตกต่างกัน จึงควรศึกษาให้ดี จึงจะเกิดประโยชน์

2. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า

3. ในระหว่างการหมัก ห้ามเปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดเนื่องจากระหว่างการหมักจะเกิดก็าชต่างๆ ขึ้น

4. ไม่ควรใช้พืชจำพวกเปลือกส้ม ในการทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิดทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายยาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ลักษณะน้ำหมักชีวภาพที่สมบูรณ์

1. น้ำหมักจะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มใส ไม่ขุ่นดำ มีตะกอนตกด้านล่าง

2. ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า แต่จะมีกลิ่นหอมเหมือนการหมักเหล้าหรือกลิ่นของกากน้ำตาล มีกลิ่นหวานอมเปรี้ยว

3. มีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 3-4

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา