เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

โดย : นางสาวรสสุคนธ์ สมาน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-06:48:13

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ. 2560-2564)  ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเลื่อมล้ำในสังคมภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ 

ปัจจุบันสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ  การไม่มีอาชีพหลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่งผลให้ประชาชนร้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมืองหรือต่างถิ่น  เพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่ายให้เพียงพอในครัวเรือน  ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว  การดำเนินงานในปี 2560 จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  เพื่อให้คนในชุมชนมีการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้  ภายในชุมชน จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในชุมชน  ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

          ในบทบาทของพัฒนากรในพื้นที่ ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชนทั้งสิ้น  18  หมู่บ้านใน 1  ตำบล ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้” รวมทั้ง   ทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นเตรียมการ

1. ศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรม/โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. กำหนดแผนงานการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

3. ประสานความร่วมมือผู้นำชุมชนสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชน  ตลอดจนผู้นำชุมชน  ประธานกลุ่มองค์การ  และภาคีการพัฒนาในการให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ

4. จัดเวทีประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการและเป้าหมายการดำเนินงาน

5. ให้การสนับสนุนกิจกรรมตามที่ปราชญ์ชุมชนได้เตรียมจัดเตรียมไว้และครัวเรือนเป้าหมายให้ความสนใจผ่านกระบวนการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์  เช่น ยูทูป เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน

6. ศึกษาดูงานการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพจากกลุ่ม/องค์กร  หรือหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ  หรือเป็นศูนย์เรียนรู้ในการสร้างงานสร้างอาชีพของหมู่บ้านชุมชนอื่นๆ

7. เสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการดำเนินงานสัมมาชีพในรูปแบบกลุ่มอาชีพ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง

8. ส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุในการสาธิตอาชีพตามแผนงาน

9. ติดตามให้การสนับสนุนและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจกลุ่มเป้าหมายสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

10. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

ขั้นตอนดำเนินการ
          ๑. ร่วมกับ “ครูใหญ่” วางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

           2.  ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา 3 วัน  ดำเนินการ  ดังนี้

             - วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย “ครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นาสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

             - วันที่ 2  เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบปะสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน ตามสัดส่วน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่  และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

             - วันที่ 3  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล  ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน         ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้

          ๓.  ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

               -  นำแผนปฏิบัติการ มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ
               -  เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ เตรียมจัดหาวัสดุฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

                - ร่วมกับภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน  5  คน  ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

                 (1)  วันที่ 1-3  ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน )

                 (2)  วันที่ 4  การศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง                                (3)  วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

                 (4)  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

            ๔  ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook เว็บไซต์สัมมาชีพ เป็นต้น

             ๔.๓  ติดตาม และสรุปประเมินผลการดำเนินงาน      

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

     (1)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนได้รับเลือกและยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน มีความเป็นผู้นำ         มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ

     (2)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน
     (3)  อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการ  ฝึกอาชีพ

     (4)  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ
 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ส่งเสริมให้รู้จักวิเคราะห์ตนเอง ชุมชน สังคม และคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ของชุมชนใน ทุกระดับ  มีการแลกเปลี่ยน และการตรวจสอบข้อมูลของชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดระบบการจัดการ ฐานข้อมูลชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน

          ๒. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ มุ่งส่งเสริม “ทักษะชุมชน’ เพื่อการพึ่งตนเอง โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยน ดูงาน อบรม และการลง มือปฏิบัติด้วยตนเอง จนชุมชนสามารถพัฒนาทักษะอาชีพ จากพื้นฐานความสามารถความชำนาญที่ สอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น ควบคู่กับการสร้าง “ทักษะชีวิต’’ สู่วิถีพอเพียง โดยเริ่มจาก ทักษะการคิด วิเคราะห์จากข้อมูลรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้ปัญหาของตนเองนำไปสู่การศึกษาเรียนรู้ สร้างโอกาส และแสวงหาทักษะอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย และเสริมสร้างศักยภาพในการพึ่งตนเองด้วย การทักษะอาชีพที่คนในชุมชนมีความต้องการคือการทอผ้าไหม จากนั้นจึงช่วยกันต่อยอด ความคิด กระทั่งชุมชนเกิดทักษะการบริหารจัดการ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ สามารถประเมินความคุ้มค่า ของการลงทุน นำความรู้มาวางแผนและปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์และแก้ไขปัญหา

 

                                                                                                /อุปสรรค…

- 4 -

อุปสรรคให้ลุล่วง สามารถลดรายจ่าย พึ่งตนเองได้มากขึ้น และขยายโอกาส โดยสร้างรายได้ในชุมชน            เกิดระบบเศรษฐกิจ ภายในชุมชน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มอาชีพ องค์กร หน่วยงานภายในชุมชน และเชื่อมต่อไป ยังกลุ่มภายนอกชุมชนด้วย และพัฒนาทักษะปราชญ์ชุมชนไปสู่คนในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และนำพาชาวบ้านให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
          ๓. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในชุมชน รู้จัก รู้ใช้ รู้รักษาและรู้เพิ่มพูนทรัพยากร ซึ่ง เปรียบเสมือน“ทุนชีวิต’’ประกอบด้วยทุนทางสังคม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ชุมชนความเชื่อวัฒนธรรม ประเพณี  ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า และทุนทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ผู้รู้ในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน

          ๔. ส่งเสริมให้เกิดกองทุน ทั้งที่อยู่ในรูปตัวเงิน และมิใช่ตัวเงิน พร้อมทั่งสร้างความรู้ใน การบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้เกิดการออมเงินทุนหมุนเวียน และระบบสวัสดิการชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น กองทุนกู้ยืม กองทุนทักษะอาชีพ กองทุนรวมแรงเพื่อการผลิต  ซึ่งจะเป็นระบบ ภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน

          5. ผลการสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

      (1)  สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง หมู่บ้านละ  ๑  ทีม   สามารถเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป
      (2)  เกิดกลุ่มอาชีพ ในหมู่บ้านเป้าหมาย ทั้ง 1  ตำบล 18 หมู่บ้าน และสามารถต่อยอดเป็นกลุ่มอาชีพ/กลุ่มโอทอป ต่อไปได้

      (๓)  หมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสัมมาชีพ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น  และไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
      (๔)  เกิดฐานการเรียนรู้ของชุมชน  และเกิดศูนย์เรียนรู้ในระดับตำบลสามารถต่อยอดการดำเนินโครงการในปีต่อๆไปได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา