เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนตำบลไพรบึง

โดย : นายมนตรี ประกอบศรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-31-23:28:07

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ภายใต้วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของรัฐบาลปัจจุบัน และยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ทำให้เกิดนโยบาย โครงการ รวมถึงแผนงานต่างๆมากมาย   เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งส่วนราชการต้องนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ โครงการ แผนงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป  

แผนงานหนึ่งที่สำคัญ คือ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมาย                     ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน ซึ่งกรมฯ ได้กำหนดให้มีการดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายจำนวน 23,589 หมู่บ้าน ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้  ที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบัน ในการประกอบอาชีพของคนในชนบท ที่ยังคงมุ่งเน้นการทำการเกษตร ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงและ       ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพอากาศ โรค แมลงศัตรูพืช-สัตว์ รวมทั้งราคาผลผลิตที่ตกต่ำ  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่สังคมเมือง ส่งผลให้สังคมชนบทซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญเกิดความอ่อนแอ กระทบต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม  รัฐบาลจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทให้เป็นไปตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และด้วยความเชื่อว่าปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน มีอยู่จำนวนมาก แต่มีเพียงส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ รวมถึงการรวมกลุ่มกันยังมีน้อย ทำให้ไม่เกิดพลังในการขับเคลื่อน เจรจาต่อรอง และร่วมกันเรียนแก้ไขปัญหาได้ กรมฯ จึงได้กำหนดการส่งเสริมให้สร้าง “สัมมาชีพ” ให้เกิดขึ้นในชุมชน

อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่เป้าหมายจำนวน 28 หมู่บ้าน ใน 6 ตำบล โดยเฉพาะตำบลไพรบึง มีหมู่บ้านสัมมาชีพเต็มพื้นที่ คือ 21 หมู่บ้าน จากหมู่บ้านเป้าหมาย 28 หมู่บ้าน จึงถือเป็นความท้าทายของพัฒนาการอำเภอ       รวมทั้งพัฒนากรผู้รับผิดชอบประสานงานประจำตำบล และทีมงานพัฒนากรทั้งอำเภอซึ่งมีจำนวน 3 คน (6 ตำบล) กับปริมาณงานของอำเภอ เช่น กข.คจ., จปฐ-กชช.2 ค., มชช., ศรช.,รง., อช.,ประชาสัมพันธ์,สารสนเทศฯ,กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ ฯลฯ ซึ่งต้องทำคุณภาพงานให้ได้เท่ากันกับอำเภออื่น ๆ จะต่างก็เพียงเชิงปริมาณ เช่นจำนวนครัวเรือนหรือจำนวนประชากรในเขตที่รับผิดชอบอาจไม่เท่าอำเภอใหญ่ๆที่มีหลายตำบล

ดังนั้นอำเภอเล็กจึงมีปัญหาและอุปสรรคการทำงานที่ต่างจากอำเภอใหญ่ ทั้งเรื่องคน เงิน งาน ที่ต้องสัมพันธ์กัน เช่น การยืมเงินทดรองราชการ ที่อาจต้องยืมคนจากที่อื่นมาช่วยเพื่อให้สามารถยืมเงินได้ทันตามกำหนดงาน และการเร่งรัดการเบิกจ่าย   การแบ่งงานมอบหมายหน้าที่ที่ต้องมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบงานที่สำคัญตามคำรับรองปฏิบัติราชการ และงานอื่น ๆ         ที่อำเภอ และจังหวัดอาจมอบหมายเพิ่มเติม ฯลฯ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพรบึง โดยนายชาติพิชิต จารุการ พัฒนาการอำเภอที่มารายงานตัวเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ นางสาวภาลิสรา มะปราง พัฒนากรรุ่น 92 ซึ่งย้ายมาได้เพียง ๒ ปี , นางสมัย ไชยสิทธิ์ พัฒนากรรุ่น 94 ซึ่งย้ายมาได้เพียง ๑ ปี และนายมนตรี ประกอบศรี พัฒนากรรุ่น 88 ที่เพิ่งย้ายมาจากส่วนกลาง(สถาบันการพัฒนาชุมชน) เมื่อต้นปี ๒๕๖๐  กับการรับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนที่เริ่มไปแล้วบางส่วนโดยคนเก่าๆ จึงต้องยกความดีความชอบในการดำเนินงานให้คนเก่า ๆด้วย

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังอย่างไรที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

๑.ศึกษาแนวทางในการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ชัดเจน ในเวลาอันจำกัด

๒.ศึกษาการดำเนินงานสัมมาชีพ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และวางแผนการดำเนินงานที่จะทำต่อไป

๓.สำรวจ ตรวจสอบข้อมูลปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพในระดับหมู่บ้าน และจัดทำฐานข้อมูล  

๔.แบ่งงาน มอบหมายพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายให้พัฒนากรเพื่อช่วยกันดูแล

๕.จัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินการตามแผน

๖.ติดตามสนับสนุนส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน

๗.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑.ให้ความเป็นกันเอง ใช้ความเป็นชาวบ้าน คิด ทำ แบบชาวบ้าน ทำให้สามารถเข้าถึงชาวบ้านได้มากกว่า 

๒.ค่อย ๆ เสริม เพิ่มเติม ให้คำแนะนำในการเรียนรู้ และแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่นจากหน่วยงานภาคีต่าง ๆ

เมื่อต้องรับช่วงดำเนินการต่อจากงานเดิมที่เริ่มไว้แล้ว เพื่อให้งานราบรื่น โดยต้องได้ผลลัพธ์เสมือนได้ริเริ่มไว้ด้วยตนเองพัฒนากรจำเป็นต้องเรียนรู้งานให้ไว และศึกษาบริบทของชุมชนพื้นที่ให้ได้ในเวลาอันจำกัด ต้องเรียนรู้จากคนในพื้นที่ จากผู้รู้ และจากคนเดิมที่อยู่มาก่อน ต้องทำงานให้เป็นทีม โดยหมั่นสร้างความเข้าใจให้กัน และดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องวางแผนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ได้เนื้องานที่กรมฯ กำหนดเพิ่มไว้ เช่น การถอดบทเรียนองค์ความรู้ไว้ในเว็ปสัมมาชีพ การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล การใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ การส่งเสริมผู้นำสัมมาชีพให้ผ่าน มชช.  การแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน(ตกเกณฑ์)  การจัดตลาดนัดสัมมาชีพ และต่อเนื่องไปจนถึงการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อต่อยอดให้มีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ จปฐ.เพื่อรายงานรายได้ที่ต้องเพิ่มจากเดิม 3 %

 

อุปกรณ์ ->

-ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนาเรื่องนั้นอย่างไร?ปัจจัยแห่งความสำเร็จคืออะไร

ปัญหาอุปสรรค

๑.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนยังไม่มีความชำนาญในการถ่ายทอดเพียงพอ

๒.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนมีภารหน้าที่ต้องรับผิดชอบในงานประจำของตนเอง

๓.ปราชญ์ชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุสุขภาพร่างกายไม่อำนวย และบางส่วนไม่ได้เป็นปราชญ์ด้านอาชีพ

๔.ความคุ้นเคยของพัฒนากร ที่ต้องใช้เวลาในการสร้าง ทำให้อาจยังไม่ได้รับความไว้วางใจเพียงพอ

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

๑.ติดตาม ส่งเสริม ให้กำลังใจ และร่วมเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน

๒.สร้างความเข้าใจ ให้กำลังใจและให้ความสำคัญกับทีมงานวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

๓.ให้การสนับสนุนช่วยเหลือคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนอย่างใกล้ชิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จะเห็นว่าเมื่อเอ่ยถึง “สัมมาชีพ” จะต้องมีการเชื่อมโยงงานทุกอย่างเข้ามาด้วยกัน ทั้งงานที่ต้องอาศัยเวลา ทั้งงานที่ต้องอาศัยการสร้างความรู้ความเข้าใจ งานที่ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง และงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน  ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปแล้ว จะเห็นว่าเป็นงานเดิม ๆ ที่พัฒนาชุมชนทำอยู่แล้ว แต่นำมาจัดระบบใหม่ และทำให้เกิดรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม ทีนี้ก็อยู่ที่ความทุ่มเท เอาใจใส่ และการให้เวลาของพัฒนากรที่จะทำให้การสร้างสัมมาชีพชุมชนประสบความสำเร็จต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา