เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นายสมยศ พุ่มเพชร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-31-08:04:50

ที่อยู่ : 24 ม.4 ต.สะเดาใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปส่งภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่พื้นฐานของหมู่บ้านยังเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม เนื่องจากความเหมาะสมของพื้นที่ประกอบกับความสามารถพิเศษด้านเกษตรกรรมของประชากรในหมู่บ้าน และกาสืบทอดจากบรรพบุรุษ เขตพื้นที่ชนบท จงเหมาะสมแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม และส่วนใหญ่จะทำนาอย่างเดียว บางปีฝนแล้ง ไม่ค่อยได้ผลผลิตเท่าที่ควร บางทีราคาข้าวก็ตกต่ำ แต่เราต้องใช้ต้นทุนการผลิตเท่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ยเคมีก็มีราคา ทำให้ขาดทุนในการประกอบอาชีพ ผมจึงหันมาศึกษาเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง โดยศึกษาจะหนังสือบ้าง ฝึกอบรมจากหน่วยงานต่างๆ เช่นการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิตในด้านการทำนา และมีการเลี้ยงโค และปลูกพืชผักเสริม

โดยไม่รอแต่ทำนาอย่างเดียว

วัตถุประสงค์ ->

เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น ข้อมูลระบบเกษตรผสมผสาน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นนี้ จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันที่เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่กว้างขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในที่สุด การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศและพลังงาน

อุปกรณ์ ->

การวางแผนการจัดการของพื้นที่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นนี้ จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันที่เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่กว้างขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในที่สุด การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศและพลังงาน
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา