เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงหมูหลุม

โดย : นายคำดี ธรรมวัตร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-31-05:16:47

ที่อยู่ : ๔๕ หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองบัวดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมูหลุม นั้นเป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกกรรมวิธีการเลี้ยงหมู ด้วยวิธีแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ไม่ใช่เป็นพื้นปูนแบบในการเลี้ยงปกติ ต้นแบบดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน และยังเป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์ เพื่อมาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดิน ดินเพื่อการปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด อาจพูดง่ายๆ นั่นคือ ทฤษฏีการเกษตรแบบธรรมชาติ
 
 

วัตถุประสงค์ ->

1. การสร้างโรงเรือนหมูหลุม ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร หมายเหตุ : คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว / คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว การเลี้ยงหมูหลุม ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย หมายเหตุ : – ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน – ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน – เกลือ 0.3 – 0.5 ส่วน – รำละเอียด 1 ส่วน

2. ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม ควรแบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การบริหารจัดการ อาหาร  ความสะอาดคอกหมู

อุปกรณ์ ->

1.การรักษาความสะอาดบริเวณคอกหมู

2.การพิจารณาวัสดุที่จะนำมารองพื้นคอกหมู

3.การพิจารณาสานพันธุ์ที่จะนำมาเลี้ยง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา