เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพอำเภอภูสิงห์

โดย : นายสะมะภู สิงห์ดง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-21:28:10

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับประชาชน และเป็นวาระที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงเศรษฐกิจฐานราก โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพครัวเรือน อำเภอภูสิงห์ มีหมู่บ้านเป้าหมายในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน จำนนวน ๗๘ หมู่บ้าน ๑,๕๖๐ ครัวเรือน ที่จะได้รับการฝึกอบรมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์จึงได้บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาคีการพัฒนาทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย ปกครองอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ทีมขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับตำบล วิทยากรสัมมาชีพ ครัวเรือนเป้าหมาย บูรณาการด้านวิชาการ องค์ความรู้ งบประมาณในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่เป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ ->

จังหวัดแจ้งจัดสรรพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน จำนวน ๗๘ หมู่บ้าน อำเภอมีการดำเนินงาน ดังนี้

               ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ

               ๒. สร้างความเข้าใจโครงการการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ส่วนราชการ ภาคีการพัฒนา และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โดยดำเนินการ ดังนี้

                   ๒.๑ นำเข้าที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอ และที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกเดือน

                   ๒.๒ แจ้งหมู่บ้านเป้าหมายให้รับทราบและเตรียมความพร้อม

               ๓. เตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

                   ๓.๑ หมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนพิจารณาคัดเลือกปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านละ ๑๐ คน

                   ๓.๒ หมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนพิจารณาคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนจากบัญชีรายชื่อปราชญ์ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านละ ๑ คน

               ๔. ประสานวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้านละ ๑ คน เข้าร่วมอบรมที่ศูนย์ช่วยเหลือพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ

               ๕ ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมบูรณาการการทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านในการขับเคลื่อนโครงการหลัก โครงการต่อยอด โครงการสนับสนุน

               โครงการหลัก

               ๑. โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ ๕ คน จำนวน ๗๘ หมู่บ้าน ๓๙๐ คน

               ๒. โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในระดับหมู่บ้านๆ ละ ๒๐ คน จำนวน ๗๘ หมู่บ้าน ๑,๕๖๐ ครัวเรือน

               ๓. โครงการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ

               โครงการต่อยอด

               ๑. โครงการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

               ๒. โครงการสนับสนุนสัมมาชีพแก่ครัวเรือนยากจน

               ๓. โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

               โครงการสนับสนุน

               - ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

               ๖. มีการติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงาน

               เชิงปริมาณ

               ๑. มีวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านๆ ละ ๕ คน ๗๘ หมู่บ้าน ๓๙๐ คน

               ๒. มีองค์ความรู้ด้านอาชีพ จำนวน ๓๙๐ องค์ความรู้

               ๓. ครัวเรือนเป้าหมายผ่านการฝึกอบรม หมู่บ้านๆ ละ ๒๐ ครัวเรือน ๗๘ หมู่บ้าน ๑,๕๖๐ ครัวเรือน

               ๔. มีการสนับสนุนกิจกรรมด้านอาชีพ ๗๘ หมู่บ้านๆ ละ ๒๐ ครัวเรือน ๑,๕๖๐ ครัวเรือน และส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพหมู่บ้านละ ๑ กลุ่ม

               เชิงคุณภาพ

               ๑. วิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านๆ ละ ๕ คน ๗๘ หมู่บ้าน ๓๙๐ คน มีความรู้ความเข้าใจสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพแก่ครัวเรือนเป้าหมาย สามารถนำไปปฏิบัติได้

               ๒. ครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการฝึกอบรมดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพในครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ปราชญ์ชุมชน(วิทยากรหมู่บ้าน) มีความพร้อม มีทักษะในการเป็นวิทยากร

               ๒. เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจและวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการฯ อย่างเป็นระบบ

               ๓. มีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม

               ๔. การประชาสัมพันธ์โครงการฯ สร้างความเข้าใจกับประชาชน

อุปกรณ์ ->

๑. ทีมวิทยากรระดับหมู่บ้านควรพิจารณาผู้ที่มีทักษะ ความพร้อมที่ เพราะเป็นการใช้คนในหมู่บ้านเป็นแกนในการขับเคลื่อนกิจกรรม

               ๒. การบริหารงบประมาณ ค่าวัสดุสาธิตอาชีพครัวเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา