เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายพงษ์ศักดิ์ ดอกพวง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-20:54:35

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุขันธ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีโนบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในโนบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ  โดยมีแผนงานที่สำคัญที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย   ที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพที่เกิดจากการการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดียว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพไม่มีรายได้เสริม มีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย หรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับปราชญ์ในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญในอาชีพและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆในหมู่บ้าน/ชุมชน ขาดทักษะหรือไม่สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

บ้านปราสาท หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ประสบปัญหาเรื่องการที่ราษฎรในชุมชนอยู่ในภาวะความเสี่ยงในการประกอบอาชีพทางการเกษตร มีค่าใช้จ่ายที่ต้นทุนทางการผลิตสูง  ไม่มีทักษะและขาดความเชียวชาญในการประกอบอาชีพเสริม พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบลจึงเป็นกลไกหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสได้รับความรู้ และพัฒนาศักยภาพปราชญ์ในชุมชน หรือผู้มีความเชียวชาญในอาชีพที่ประสบความสำเร็จในหมู่บ้านได้มีโอกาส ถ่ายถอดความรู้ด้านอาชีพ ให้แก่คนอื่นๆได้ทำตาม จนก่อให้เกิดการรวมกลุ่มและมีอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

กิจกรรมในการดำเนินงาน

      1. การแบ่งกลุ่มระดมสมองในการคิดวิเคราะห์เชิงรูปภาพเพื่อให้มองเห็นอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต ในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  เพื่อให้ชุมชนได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของตนเองและปรับเปลี่ยนให้ทันตามยุคสมัยที่เปลี่ยน โดยต้องคำนึงถึงรายรับ  รายจ่าย จุดคุ้มทุนที่จะเกิดขึ้น

      2. ปราชญ์ที่เชี่ยวชาญด้านอาชีพ ออกมานำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน เพื่อถ่ายถอดเทคนิคในการทำอาชีพเสริมแต่ละด้านตามความถนัด

      3. สรุปผลการวิเคราะห์นำเสนอเป็นรายกลุ่ม

เทคนิคและแนวทางในการนำเนินกิจกรรม

 1. ส่งเสริมให้รู้จักวิเคราะห์ตนเอง ชุมชน สังคม และคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ของชุมชนใน ทุกระดับ มีการแลกเปลี่ยน และการตรวจสอบข้อมูลของชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดระบบการจัดการ ฐานข้อมูลชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน

๒) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านอาชีพ มุ่งส่งเสริม “ทักษะชุมชน’ เพื่อการพึ่งตนเอง โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยน ดูงาน อบรม และการลง มือปฏิบัติด้วยตนเอง จนชุมชนสามารถพัฒนาทักษะอาชีพ จากพื้นฐานความสามารถความชำนาญที่ สอดคล้องกับทรัพยากรในท้องถิ่น ควบคู่กับการสร้าง “ทักษะชีวิต’’ สู่วิถีพอเพียง โดยเริ่มจาก ทักษะการคิด วิเคราะห์จากข้อมูลรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้ปัญหาของตนเองนำไปสู่การศึกษาเรียนรู้ สร้างโอกาส และแสวงหาทักษะอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย และเสริมสร้างศักยภาพในการพึ่งตนเองด้วย การทักษะอาชีพที่คนในชุมชนมีความต้องการคือการทอผ้าไหม จากนั้นจึงช่วยกันต่อยอด ความคิด กระทั่งชุมชนเกิดทักษะการบริหารจัดการ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ สามารถประเมินความคุ้มค่า ของการลงทุน นำความรู้มาวางแผนและปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์และแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้ลุล่วง สามารถลดรายจ่าย พื่งตนเองได้มากขึ้น และขยายโอกาส โดยสร้างรายได้ในชุมชน เกิดระบบเศรษฐกิจ ภายในชุมชน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มอาชีพ องค์กร หน่วยงานภายในชุมชน และเชื่อมต่อไป ยังกลุ่มภายนอกชุมชนด้วย และพัฒนาทักษะปราชญ์ชุมชนไปสู่คนในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และนำพาชาวบ้านให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
                        ๓) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในชุมชน รู้จัก รู้ใช้ รู้รักษาและรู้เพิ่มพูนทรัพยากร ซึ่ง เปรียบเสมือน“ทุนชีวิต’’ประกอบด้วยทุนทางสังคม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ชุมชนความเชื่อวัฒนธรรม ประเพณี  ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า และทุนทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ผู้รู้ในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน

๔) ส่งเสริมให้เกิดกองทุน ทั้งที่อยู่ในรูปตัวเงิน และมิใช่ตัวเงิน พร้อมทั่งสร้างความรู้ใน การบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้เกิดการออมเงินทุนหมุนเวียน และระบบสวัสดิการชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น กองทุนกู้ยืม กองทุนทักษะอาชีพ กองทุนรวมแรงเพื่อการผลิต กองทุนสวัสดิการ ซึ่งจะเป็นระบบ ภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การดำเนินงานส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่ประสบความสำเร็จ มีปัจจัยเอื้อดังนี้ คือ มีผู้ให้ความ สนใจเป็นจำนวนมาก มีผู้เสียสละ ปราชญ์ในชุมชนมีจิตอาสาให้ชุมชนจำนวนมาก ผู้นำให้ความสนใจและมีนโยบายที่ ต้องการให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงครอบครัว ลดการว่างงานในชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา