เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน บ้านเขวา หมู่ที่ ๒ ตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางสาวภาลิสรา มะปราง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-08:15:59

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไทยแลนด์ 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ   ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

 โดยกระทรวงมหาดไทย มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน การดำเนินการของกรมการพัฒนาชุมชนในปี 2560 จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ 23,589 หมู่บ้าน รวม 471,780 ครัวเรือน ของหมู่บ้านในประเทศไทย         

          อำเภอไพรบึง โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพรบึง มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนตามนโยบาย จำนวน ๖ ตำบล  ๒๘ หมู่บ้าน โดยที่ตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง มีหมู่บ้านเป้าหมาย  จำนวน  ๑ หมู่บ้านคือ บ้านเขวา หมู่ที่ ๒ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๕๔  ในการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน พัฒนากรในพื้นที่ จึงต้องรู้บทบาท หน้าที่ และมีเทคนิคในการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยทีมวิทยากรในชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพในชุมชนที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

๑) เตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชมชน

          ๑.๑ ตรวจสอบปราชญ์ชุมชนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

          ๑.๒ ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมอบรม วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี

          ๑.๓ แต่งตั้งทีมงานสนับสนุนทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

          ๒) กระบวนการส่งเสริมสร้างสัมมาชีพ

          ๒.๑ ลงพื้นที่ชี้แจงสร้างความเข้าใจในชุมชน และทบทวนบทบาท พัฒนาทักษะของปราชญ์ชุมชน ในการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน (ครูใหญ่)

          ๒.๒ วิทยากรสัมมาชีพชุมชน (ครูใหญ่) และพัฒนากรร่วมกันจัดเวทีประชาคม คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ในหมู่บ้าน จำนวน ๔ คน พร้อมด้วยรับสมัคร ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวน ๒๐ คน

          ๒.๓ วิทยากรสัมมาชีพชุมชน (ครูใหญ่) วางแผนและดำเนินการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ในหมู่บ้าน จำนวน ๔ คนและดำเนินการอบรมฯ  จำนวน ๓ วัน มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยร่วมกัน วิเคราะห์การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

 

 

 -๒-

          ๒.๔ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการพัฒนา และสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาชีพการทอผ้า การทอผ้า โดยมีนางอุ่น  สีแดด เป็นครูใหญ่  และครูน้อยอีก ๔ คนพร้อมครัวเรือนเป้าหมายในการดำเนินการ ๒๐ คน  จำนวน ๕ วัน

          ๒.๕ เมื่อดำเนินการตามกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ได้ดำเนินการดังนี้   2.5.1 ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนดรายงานให้อำเภอทราบ                  

                   2.5.2 สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

6.๑ การจัดเวทีประชาคมคัดเลือกตัวแทน ปราชญ์ภายในชุมชน (ครูใหญ่)และทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน (ครูน้อย) ต้องเป็นบุคคลที่มีความพร้อม และความสามรถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีความเสียสละ และมีความตั้งใจในการดำเนินกิจกรรม

          6.๒ การคัดเลือกอาชีพสัมมาชีพ ที่มาจากความต้องการ และเป็นภูมิปัญญา ที่มีอยู่ภายในชุมชน

6.๓ การสร้างความรู้ความเข้าใจ ทั้งจากการประชุม การอบรมรม และการติดตาม อย่างต่อเนื่อง ของทีมวิทยากรทั้งในหมู่บ้านและพัฒนากร ทำให้เกิดการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๗.๑ พัฒนากรต้องศึกษาข้อมูลตามหนังสือแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจอย่างแท้จริง 

          ๗ ๒ ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการใช้ระยะเวลานาน อาจทำให้การอบรมอาจไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง อาจจะต้องเว้นการอบรมเป็นช่วงๆ อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ       

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา