เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน บ้านโปร่งสามัคคี หมู่ที่ ๕ ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางสาวจริยาภรณ์ คำมุงคุณ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-29-14:17:57

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย ที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย ชั้น 2

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระบวนการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งไป

                        อาชีพที่เป็นสัมมาชีพเป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมคือ ความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลักและในการที่จะมีอาชีพที่เป็นสัมมาชีพจะมีปราชญ์ชุมชน ประกอบสัมมาชีพ จนมีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ หรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงในอาชีพ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชนโดยอำเภออุทุมพรพิสัยได้อบรมหมู่บ้านสัมมาชีพจำนวน ๒๐ หมู่บ้าน  ซึ่งบ้านโปร่งสามัคคี  หมู่ที่ ๕  ตำบลโคกจาน  ก็เป็นหนึ่งในหมู่บ้านเป้าหมายของอำเภอ และได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมและข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้ประสานงานได้ร่วมในการขับเคลื่อนกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนโดยการใช้เทคนิคและวิธีการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

๑) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ จำนวน๑ คนเข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีก 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  รวม 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

4) การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพโดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรกและจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนจำนวน 20ครัวเรือน

5) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย  20 ครัวเรือนตามกรอบแนวทางของสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  5  วัน

6) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล สอบถามอาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายต้องการ         

 7) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และขึ้นทะเบียนกลุ่มอาชีพกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1)      โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน

2) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

3) การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

4)      ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านอย่าง

ต่อเนื่อง

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1)  ระยะเวลาในการอบรมนานเกินไป ผู้เข้าอบรมเกิดการเบื่อหน่าย เพราะมีภาระในการประกอบกับมีอาชีพหลักและภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ

2)  อาชีพบางอย่างมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอาชีพให้มากขึ้น

3) ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติ และลดปริมาณขั้นตอนของเอกสารรายงานลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา