เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายคอง บุตรดาลี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-22:12:28

ที่อยู่ : บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ใน ปี 2559 บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และ ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ และได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ เป็นหน่วยดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ซึ่งอำเภอโนนคูณ มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 13 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง เป็น 1 ใน 13 หมู่บ้านที่ดำเนินการตามโครงการ และข้าพเจ้าได้รับคัดเลือกจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน เป็นปราชญ์ชุมชน เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” และได้เป็นแกนนำหลักในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนบ้านก้อนเส้า จากการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน สามารถสรุปบทเรียนการดำเนินการ ได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ ->

          ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1. เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

1.1 การสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน
                   1.2 ร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ในหมู่บ้านเพื่อเตรียมเข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ จำนวน 10 คน จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน และจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

1.3 ร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน (จากทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คนที่คัดเลือกไว้แล้ว) ได้คัดเลือก ข้าพเจ้าปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ และจัดทำข้อมูลปราชญ์ (ผู้เชี่ยวชาญ/ประสบความสำเร็จในอาชีพ) ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

   2. เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 ตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ รุ่นที่ 18 ในระหว่างวันที่ 8 - 17  มกราคม 2560 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

    3. เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด จังหวัดศรีสะเกษ
รุ่นที่ 1 ในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 5 เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1

    4. โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                      4.1 ดำเนินการร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล จัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคัดเลือกปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพ ดังนี้

                             - คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน ซึ่งเรียกปราชญ์ชุมชนนี้ว่า“ครูน้อย” เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตาม
แบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ เรียบร้อยแล้ว และจัดทำทะเบียนข้อมูลทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งให้ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

                            - คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก จำนวนหมู่บ้านละ 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) และจัดทำทะเบียนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

            4.2 เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

                     4.3 ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา 3  วัน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุม เพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็น
ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับทำหน้าที่ฝึกอบรมให้กับผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอบรมอาชีพต่อไป ดังนี้

      1) วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน และสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน ดำเนินการ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอโนนคูณ ชั้น 2

      2) วันที่ 2 เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อ

                1) ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

                2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่

                3) แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                             3) วันที่ 3 ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้ ณ หอประชุมอำเภอโนนคูณ  

          5.  โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนารส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                       5.1 ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 คน มีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

                             1) วันที่ 1 - 3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการใน

หมู่บ้าน ณ  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนบ้านก้อนเส้า)

                             2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ บ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง บ้านนายประเสริฐ  พิทักษ์ ปราชญ์ชุมชนด้านเกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 5 ตำบลโนนค้อ
                             3) วันที่ 5 สนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ และติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม

                      5.2 สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

          6. ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน

          7. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง

          8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

          การสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านก้อนเส้า

หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ

จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากดำเนินการตามแนวทางและกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ข้าพเจ้าในฐานะผู้นำวิทยากรสัมมาชีพและได้ดำเนินการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้มีเทคนิคดังนี้

          1. สร้างการรับรู้การดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย ผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน และผ่านทางผู้นำชุมชน สู่การบอกเล่าปากต่อปาก

          2. เป็นผู้ประสานการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน ระหว่างชุมชนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
โนนคูณ

          3. คัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน “ครูน้อย” ที่เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะ ประสบการณ์ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ จากผู้นำชุมชน และผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ

          4. คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ (ลูกศิษย์) ที่เป็นคนหัวไว ใจสู้  และมีความตั้งใจจริงและสมัครใจเข้ารับการฝึกอาชีพ

          5. ให้ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          6. ศึกษาคู่มือแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน และหมั่น ศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนการถ่ายทอดความรู้อยู่เสมอ

5. ผลของการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนบ้านก้อนเส้า

          1. ตนเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการพัฒนาอาชีพ

          2. ครัวเรือนสัมมาชีพ ได้รับการความรู้ในการนำมาพัฒนาอาชีพ และนำความรู้ไปประกอบอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพ      

          3. เกิดทางเลือกอาชีพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ ในการประกอบอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้านางรม เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

          4. สร้างความรักความสามัคคี และสร้างความเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในชุมชน

          6. มีแกนนำหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป

          7. หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเป้าหมายของหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความเข้มแข็งของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นผู้นำ มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

          2. ครัวเรือนสัมมาชีพมีความสมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

          3. การได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน และให้ความสำคัญในการดำเนินการตามโครงการ

          4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการ

          5. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

          6. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

-อาชีพที่เลือกฝึกปฏิบัติ ไม่ตรงตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพ เลือกอาชีพที่ฝึกเพราะครัวเรือนอื่นๆ เลือกอาชีพนั้นๆ ต้องให้ครัวเรือนเป้าหมายเลือกอาชีพที่จะฝึกเองโดยไม่ถูกครอบงำความคิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ระยะเวลาในการฝึกอบรม กิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ควรดำเนินการจาก 5 วัน ให้เหลือ  3 วัน    

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา