เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายปอง ชนะดวงใจ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-21:52:39

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ ม. 12 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

                   ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรอศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

                   ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินการในปี 2560 นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ 23,589 หมู่บ้าน รวม 471,780 ครัวเรือน นั่นคือ 20% ของหมู่บ้านในประเทศไทยโดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว เช่น ทำนาได้ผลผลิตสูง ทำสวนเก่ง หรือทางช่างแกะสลัก และการแปรรูปอื่นๆ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ 20 คน รวมเป็น 471,780 คนหรือครัวเรือน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป ดังนั้น จึงได้กำหนดดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบทจำนวน 23,589 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวัง

                   พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการสัมมาชีพอำเภอขุนหาญ จำนวน 9 ตำบล 34 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่ผ่านการให้คำปรึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง หลักการทรงงาน การสำรวจข้อมูล การจัดเวทีประชาคม จัดทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท

·       กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพ

4.1  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ องค์กร 4 องค์กร ที่เป็นทีม

สนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ จำนวน 50 คน ระยะเวลา 1 วัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการสัมมาชีพ เรื่องการยกระดับครัวเรือนยากจน การบูรณาการแผนชุมชนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนระดับตำบล และหมู่บ้าน

                             4.2  กำหนดภารกิจองค์กรที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

1) คณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอ (กพสอ) สนับสนุนการพัฒนาอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ

2) คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ) สนับสนุนการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล การเชื่อมโยงแผนกับท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพและกลุ่มอาชีพ

3) คณะกรรมการชมรมอาสาพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ สนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านและยกระดับครัวเรือนยากจนเป้าหมาย

4) คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอหรือผู้แทนสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพและครัวเรือนยากจนเป้าหมายให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน

                             4.3  จัดทำแผนปฏิบัติการองคกรที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน ในเรื่องต่อไปนี้

                                      1) การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

                                      2) สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                                      3) การเข้าถึงแหล่งทุนชุมชน

                                      4) การยกระดับครัวเรือนยากจน

·       วิธีการ/เทคนิค

1) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทีมงานพัฒนากร (ทีมสนับสนุน) เพื่อที่จะลงไปให้การสนับสนุนที่

วิทยากร (ครูใหญ่และครูน้อย) ได้อย่างถูกต้อง

                             2) ควบคุม กำกับดูแล และออกติดตามการดำเนินงานของทีมงานพัฒนากร ทีมวิทยากร ครัวเรือนสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

                             3) สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทีมงาน ทำดีต้องได้ดี ทำดีต้องได้รับคำชมเชย และมีรางวัล

                             4) จัดให้มีครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

5.1 การกำหนดอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ เป็นการระเบิดจากข้างในทำให้ตรงกับปัญหาความต้องการที่แท้จริง

                   5.2 ทีมวิทยากร (ครูใหญ่ครูน้อย) มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาด้านอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายอย่างแท้จริง

                   5.3 ครัวเรือนสัมมาชีพ มีความภาคภูมิใจ มีความเป็นเจ้าของในงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนและมีรายได้เพิ่มขึ้น

                   5.3 สามารถพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ลงทะเบียน OTOP ได้ในอนาคต

อุปกรณ์ ->

1) ความรู้ความเข้าใจความเอาใจใส่ของพัฒนากรและทีมวิทยากร (ครูใหญ่ครูน้อย)

2) ระยะเวลาดำเนินการ ให้ดำเนินการในไตรมาส 2 ซึ่งมีระยะเวลาที่ถูกกำหนดมีเวลาสั้นมาก

3) งบประมาณที่จัดสรรให้ป็นจำนวนน้อย (เงินค่าอาหารมื้อละ 50 บาทและงบประมาณส่งเสริมอาชีพครัวเรือนละ 800 บาท หมู่บ้านละ 16,000 บาท)

4) อาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพกำหนด พบบางอาชีพรายได้ยังไม่เกิดต้องรอผลผลิต เช่น การปลูกกล้วยหอมทอง การปลูกไผ่กิมซุง ฯลฯ เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา