เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางไพรวัลย์ วงค์ประเทศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-27-22:56:28

ที่อยู่ : บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ใน ปี 2559 บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และ ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ และได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ เป็นหน่วยดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ซึ่งอำเภอโนนคูณ มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 13 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง เป็น 1 ใน 13 หมู่บ้านที่ดำเนินการตามโครงการ และข้าพเจ้าได้รับคัดเลือกจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน เป็นปราชญ์ชุมชน เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” และได้เป็นแกนนำหลักในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนบ้านหัวเหล่าเหนือ จาก
การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน สามารถสรุปบทเรียนการดำเนินการ ได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ

          ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองกุง อำเภอ
โนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1. เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

1.1 การสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน
                   1.2 ร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ในหมู่บ้านเพื่อเตรียมเข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ จำนวน 10 คน จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน และจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

1.3 ร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน (จากทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คนที่คัดเลือกไว้แล้ว) ได้คัดเลือกข้าพเจ้า เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ และจัดทำข้อมูลปราชญ์ (ผู้เชี่ยวชาญ/ประสบความสำเร็จในอาชีพ) ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

   2. เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 ตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ รุ่นที่ 18 ในระหว่างวันที่ 8 - 17  มกราคม 2560 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

    3. เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด จังหวัดศรีสะเกษ
รุ่นที่ 1 ในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 5 เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1

    4. โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                      4.1 ดำเนินการร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบงานตำบล จัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคัดเลือกปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพ ดังนี้

                             - คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน ซึ่งเรียกปราชญ์ชุมชนนี้ว่า“ครูน้อย” เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตาม
แบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ เรียบร้อยแล้ว และจัดทำทะเบียนข้อมูลทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งให้ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

                            - คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก จำนวนหมู่บ้านละ 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) และจัดทำทะเบียนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

            4.2 เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

 

 

 

 

 

-3-

                     4.3 ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา 3  วัน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุม เพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็น
ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับทำหน้าที่ฝึกอบรมให้กับผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอบรมอาชีพต่อไป ดังนี้

      1) วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน และสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน ดำเนินการ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอโนนคูณ ชั้น 2

      2) วันที่ 2 เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อ

                1) ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

                2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่

                3) แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                             3) วันที่ 3 ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้ ณ หอประชุมอำเภอโนนคูณ

 

 

 

 

 

 

 

 

         

          5.  โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนารส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                       5.1 ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 คน มีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

                             1) วันที่ 1 - 3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการใน

หมู่บ้าน ณ  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนบ้านโนนรัง)

                             2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ บ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง บ้านนายประเสริฐ  พิทักษ์ ปราชญ์ชุมชนด้านเกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 5 ตำบลโนนค้อ
                             3) วันที่ 5 สนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ และติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม

                      5.2 สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

          6. ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน

          7. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง

          8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความเข้มแข็งของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นผู้นำ มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

          2. ครัวเรือนสัมมาชีพมีความสมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ

          3. การได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน และให้ความสำคัญในการดำเนินการตามโครงการ

          4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการ

          5. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

          6. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

- อาชีพที่เลือกฝึกปฏิบัติ ไม่ตรงตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพ เลือกอาชีพที่ฝึกเพราะครัวเรือนอื่นๆ เลือกอาชีพนั้นๆ ต้องให้ครัวเรือนเป้าหมายเลือกอาชีพที่จะฝึกเองโดยไม่ถูกครอบงำความคิด

          - เวลาว่างไม่ตรงกันของกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ต้องบริหารจัดการเวลาในการฝึกอบรม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ระยะเวลาในการฝึกอบรม กิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ควรดำเนินการจาก 5 วัน ให้เหลือ 3 วัน    

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา