เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านหนองผือ หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางสาวนิตยา คำโสภา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-18:33:25

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

Thailand 4.0 เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพื่อให้ประเทศสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามในศตวรรษที่ 21

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 1 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

          ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป และได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการ ความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท

วัตถุประสงค์ ->

          ในบทบาทของพัฒนากรในพื้นที่ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชน จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองผือ หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ มีการดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้” รวมทั้งทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ข้าพเจ้ามีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

        1. ขั้นเตรียมการ

            1.1  เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

            1.2  คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน  1 คน (ครูใหญ่) จากเวทีประชาคม เข้าร่วมอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน(วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)

            1.3 วิทยากรสัมมาชีพชุมชน (ครูใหญ่) กลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมอีกหมู่บ้านละ ๔ คน รวมเป็น 5 คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน) โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

               1.4  ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

         2.  ขั้นตอนดำเนินการ
              2.1 ร่วมกับ “ครูใหญ่” ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

              2.2 ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา 3 วัน  ดังนี้

                (1) วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย “ครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

               (2) วันที่ 2  เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบปะสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่  และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

            (3) วันที่ 3  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน

            2.3  ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                   (1)  นำแผนปฏิบัติการ มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดทำปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ
                   (2)  เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ เตรียมจัดหาวัสดุฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

                   (3)  ร่วมกับผู้นำชุมชน  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน  5  คน  (ครูใหญ่และครูน้อย) ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

              -  วันที่ 1-3  ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองผือ หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยจันทร์ )

              -  วันที่ 4  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง
              -  วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือ การทำปลาส้มและการทำไส้กรอก โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

           (4)  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพและพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพ มีรายได้ จนสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ในอนาคต และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

             (5)  ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook เว็บไซต์สัมมาชีพ เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ เป็นต้น

๔.๓  ติดตาม และสรุปประเมินผลการดำเนินงาน      

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(1)  การคัดเลือกผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นผู้นำ มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ เป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน                 

(2)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน ประกอบกับผู้นำชุมชนให้การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน
(3)  อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ    

 

อุปกรณ์ ->

   (๑)  ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชน ตามคู่มือแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

     (๒)  คัดเลือกปราชญ์ชุมชน  ต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้ 

     (๓)  คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน  ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

    (4)  ใช้กระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” และยึดหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน” และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านกันเองในสิ่งที่เขาอยากรู้ ในสิ่งที่เขาต้องการและอยากจะทำ ลงมือปฏิบัติเอง โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ       

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

ระยะเวลาดำเนินการ ให้ดำเนินการในไตรมาส 2 ซึ่งมีระยะเวลาที่ถูกกำหนดมีเวลาสั้น กิจกรรมบางกิจกรรมต่ออาศัยช่วงระยะเวลาจึงจะบังเกิดผล

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา