เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : ว่าที่ พ.ต.คธาวุธ แสงประจักษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-09:27:36

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม  เช่น  การปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ  การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม  หลังฤดูกาลผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่ยังอยู่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ  ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง  และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้  แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร  ประกอบกับปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          ดังนั้นด้วยเหตุผลปัจจัยดังกล่าวข้างต้น  การดำเนินการในปี   ๒๕๖๐ นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ สัมมาชีพชุมชน  ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ  ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว  เช่น ทำนาได้ผลผลิตสูง   ทำสวนเก่ง หรือทางช่างแกะสลัก  และการแปรรูปอื่นๆ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้  ยกให้เป็น  วิทยากรสัมมาชีพชุมชน   หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔ คนแล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจฝึกอาชีพ  หมู่บ้านละ  ๒๐  คน  เมื่อผ่านการฝึกตามขั้นตอนมาแล้ว ก็สามารถสร้างอาชีพบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงได้  หากมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพ  สร้างผลผลิต  สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา  เข้าสู่ระบบ  OTOP  เพื่อเข้าสู่ระบบการตลาดในวงกว้างได้ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

             ๒.๑  การเสริมสร้างทักษะและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน( วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)หมู่บ้านละ  ๑  คน

             ๒.๒  ให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับมาสร้างทีม  โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่มีความพร้อมเข้าร่วมกิจกรรม 

                      จำนวน  ๔  คนในแต่ละหมู่บ้าน(ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)

             ๒.๓ จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  หมู่บ้านละ  ๒๐  คนโดยใช้พื้นที่ของบ้านปราชญ์ชุมชน  หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้  โดยให้ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้และทักษะ  พร้อมปฏิบัติได้จริง  จนสามารถพัฒนาในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและสามารถต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

                 ๓. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ การประกอบสัมมาชีพในชุมชน  เป็นการประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น  ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย  เป็นความพยายามที่จะปรับและพัฒนาการประกอบอาชีพเดิมของครัวเรือน  มาเป็นการทำมาค้าขาย  ของครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องคิดใหม่เสมอว่า  ตนเองเป็นผู้ประกอบการคนหนึ่ง ในฟันเฟืองของระบบเศรษฐกิจใหญ่  กำลังทำธุรกิจอยู่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในเชิงธุรกิจอื่นๆ การสร้างกำไรสุทธิให้มากขึ้น นั้น

            ๓.๑ การมุ่งสู่การลดรายจ่าย  ลดต้นทุนในการผลิต  ลดรายจ่ายในครัวเรือน  ไม่ก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้

            ๓.๒ การเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายผลผลิต  ให้มีส่วนต่างจากต้นทุนมากขึ้น รายได้เหลือก็มากขึ้น

                     เป็นการคิดอย่างครบวงจร  เพราะการผลิตอย่างเดียว  คิดด้านเดียว เป็นความคิดที่ชำซากที่ทำกันมานานและจะเป็นปัญหาต่อไป  เนื่องจากผลิตมาแล้วขายไม่ได้  ดังนั้น  การคิดให้ครบวงจร  ตั้งแต่ความต้องการ  จำนวนที่ผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับราคา  การตลาด  การขนส่ง  รวมถึงเทคโนโลยี่การผลิตที่ต้องเพิ่มอย่าหยุดนิ่ง และต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะยั่งยืน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ในการดำเนินงานได้ให้แนวทางและองค์ความรู้ในการส่งเสริมและขับเคลื่อนแก่เจ้าหน้าที่และวิทยากรประจำหมู่บ้านได้ตระหนักในความต้องการเป็นหลัก เพราะบริบทของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันรวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีและชนเผ่าพันธุ์ของชนชาติด้วยแล้ว  แนวคิดและทัศนคติก็ย่อมมีผลต่อการดำเนินชีวิตด้วยแล้ว  การจะนำการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบแน่นอน  จึงให้เจ้าหน้าที่และวิทยากรปราชญ์ชุมชนต้องเข้าใจก่อน  ที่จะลงมือใดๆ  แต่ก็ด้วยความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่และวิทยากรปราชญ์ชุมชนที่ได้ทุมเทลงไปก็เกิดผลตอบรับที่ดีมาก  ครัวเรือนเป้าหมายเกิดความเข้าใจและต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่ความรักของครอบครัวและสังคม ชุมชนในการพัฒนาตนเองและอาชีพ  ให้เกิดความก้าวหน้า และหารายได้เพิ่มพูน ขึ้นแก่ครอบครัว โดยการประกอบอาชีพต่างๆ  ที่ต้องการพร้อมทั้งการสร้างผลิตภัณฑ์และรูปแบบตามที่ความต้องการของตลาด  ทั้งนี้ ทำให้ผู้นำของชุมชนเห็นความสำคัญอย่างที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงชุมชน ให้เกิดความสามัคคีและสร้างชุมชนให้มีความสุขและมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป

อุปกรณ์ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพต้องไม่ช้ำซ้อนการประกอบอาชีพปกติของชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรให้มีการจัดการตลาดสัมมาชีพชุมชน  หรือแล่งจำหน่ายที่ชัดเจนด้วย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา