เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาววณัฐณิชา คำภากุล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-15:23:42

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศิลาลาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ   ภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ  
     ปัจจุบันสถานการณ์ การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน  พบว่า มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดังเดิม เช่น  การปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำการไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิต  และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับ มีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร มีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงมีเป้าหมายในการมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ“สัมมาชีพชุมชน”ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่ง ยกให้เป็น“วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”หมู่บ้านละ 1 คน หลังจากนั้นให้กลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพ หมู่บ้านละ  20 คน  ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป
          ในบทบาทของพัฒนากรในพื้นที่ ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสัมมาชีพชุมชนทั้งสิ้น  ๓  หมู่บ้านใน ๒  ตำบล ดำเนินการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้” รวมทั้ง   ทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

       ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
  ๔.๑   ขั้นเตรียมการ
   (1)  เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน และจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ จำนวน  10  คน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ          (๒)  คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน  1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)
  (๓)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔  คน   รวมเป็น 5 คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)
 (๔)  ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน
  ๔.๒  ขั้นตอนดำเนินการ
      ๑ ร่วมกับ “ครูใหญ่” ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทาเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดาเนินกิจกรรม                  2  ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านระยะเวลา  3  วัน  ดังนี้
      - วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนและสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย “ครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นาสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน
    - วันที่ 2  เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดย ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบปะสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน ตามสัดส่วน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ว่ายังมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่  และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
   - วันที่ 3  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้
   ๓  ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
     -  นำแผนปฏิบัติการ มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ
    -  เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ เตรียมจัดหาวัสดุฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
   - ร่วมกับภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน  5  คน  (ครูใหญ่ และครูน้อย) ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้
    (1)  วันที่ 1-3  ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน )
    (2)  วันที่ 4  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง บ้านนายจำปี  ศรีคำ  ปราชญ์ชุมชนด้านเกษตรผสมผสาน บ้านเดื่อ  หมู่ที่ ๔  ตำบลคลีกลิ้ง  อำเภอศิลาลาด
    (3)  วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือการขยายพันธุ์ต้นกล้วยด้วยการผ่าหน่อ และความรู้การเลี้ยงไก่  การการทำอาหารไก่แบบประหยัด โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ
   (4)  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
  ๔  ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook เว็บไซต์สัมมาชีพ เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

      (1)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชนได้รับเลือกและยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน มีความเป็นผู้นำ มีจิตอาสา
มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ

      (2)  ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่ และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการในทุกขั้นตอน
      (๓)  ผู้นาชุมชนให้การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญการขับเคลื่อนกิจกรรม
      (๔)  อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับ
กับทุนที่มีในชุมชน รวมทั้ง การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการ  ฝึกอาชีพ
      (๕)  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ  และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ
      (๕)  การบูรณาการการทำงานร่วมกันของส่วนราชการในระดับตำบล ทั้งในส่วนพื้นที่เป้าหมาย บุคลากร และงบประมาณ ส่งผลให้เกิดผลสำเร็จยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ ->

   (๑)  ความพร้อมของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ต้องศึกษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน

             (๒)  คัดเลือกปราช์ญชุมชน  ต้องเป็นปราช์ญที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนในชุมชนสนใจ สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้ 

             (๓)  คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน  ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง

             (๔)  ให้การสนับสนุนกิจกรรมผ่านกระบวนการถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ เช่น ยูทูป เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน
             (๕)  ประสานความร่วมมือ ภาคีการพัฒนา  เช่น  เกษตร  ปศุสัตว์  กศน. ในการให้การสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ที่ครัวเรือนสนใจ 

             (๖)  ให้ความรู้เรื่องหลัก ๕ ก ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการดำเนินงานสัมมาชีพในรูปแบบกลุ่มอาชีพ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง

             (๗)  ติดตามสนับสนุน และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง  ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น  Facebook  เว็บไซต์สัมมาชีพ หรือการประชุมระดับตำบล อำเภอ  เป็นต้น

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา