เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางรัชนี ไชยศาสตร์ ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-14:39:20

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็น1 ใน 10 ยุทธศาสตร์ การพัฒนาตามแผนและรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่าง ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

          ด้วยเหตุผลดังกล่าวปีงบประมาณ 2560 กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้กำหนดการสร้างสัมมาชีพชุมชนเป็นวาระกรมการพัฒนาชุมชน มีเป้าหมายสุดท้ายคือ เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เพราะทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว ซึ่งคัดเลือกผ่านเวทีประชาคมที่เราเรียกว่า “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพิ่มอีกหมู่บ้านละ 4 คน แล้วเปิดรับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมฝึกอาชีพ หมู่บ้านละ 20 คน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติมาแล้วก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงได้  และได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานจากพื้นที่หมู่บ้านที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนตามนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน และวาระกรมการพัฒนาชุมชน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ด้วยการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานภาคีการพัฒนา ประกอบด้วย ปกครองอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ สถานีตำรวจอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ กศน. และ อบต.ทุกแห่ง ผู้นำชุมชนโดยการมีหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 22 หมู่บ้านใน 5 ตำบล

วัตถุประสงค์ ->

1. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ สร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน และโครงการที่ได้รับจัดสรรจากกรม ฯ

          2. นำโครงการสัมมาชีพชุมชนแจ้งในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอและกำนันผู้ใหญ่บ้าร

          3. ตรวจสอบหมู่บ้านพื้นที่เป้าหมาย ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านด้านอาชีพที่ประสบผลสำเร็จบ้านละ 10 คน เพื่อเตรียมเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

          4. ประสานวิทยากรสัมมาชีพชุมชนบ้านละ 1 คน เข้าอบรมที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และเข้าอบรมที่จังหวัดศรีสะเกษ

          5. ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้

                   5.1 โครงการเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยดำเนินการระหว่างวันที่  15-17 กุมภาพันธ์ 2560 โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ ดำเนินการตามแนวทางหลักสูตรที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมความรู้และทักษะอื่น ๆ ดังนี้

                   - ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการที่ดี/หลักการพูดในที่ชุมชน โดย นางรัชนี ไชยศาสตร์ พัฒนาการอำเภอ

                   - การวิเคราะห์อาชีพ โดย นางอุมาพร  สิมาขันธ์

                   - การบริหารจัดการกลุ่ม/การทำบัญชี/ทะเบียน การทำบัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพ โดย

นางทิราวรรณ  บุญสนิท

                   5.2 โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 22 หมู่บ้าน ๆ ละ 20 คน และวิทยากรสัมมาชีพ จำนวน 5 คน รวม 25 คน  โดยได้ดำเนินการดังนี้

                   - ประสานผู้ใหญ่บ้าน/ผู้นำชุมชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเข้าร่วมประชุมในวันแรกของการฝึกอบรม

                   - วิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้าน นำครัวเรือน 20 ครัวเรือน ไปศึกษาดูงานอาชีพที่สนใจและนำความรู้มาสรุป เพื่อปรับใช้ในหมู่บ้าน

                   - จัดหาวัสดุสาธิตเพื่อนำมาฝึกปฏิบัติ โดยให้วิทยากรสัมมาชีพและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสำรวจความต้องการ และให้วิทยากร ฯ ฝึก ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน เข้าใจง่าย มีการตื่นตัวและขยายผลองค์ความรู้ และขั้นตอนนี้ได้ประสานการติดตามโดยทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

                   - ถอดองค์ความรู้วิทยากรสัมมาชีพชุมชน คนละ 1 เรื่อง รวม 88 เรื่อง และเผยแพร่ทางเว็บไซต์สำนักงานพัฒนาชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การเตรียมความพร้อมและดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชนอย่างมีระบบ

          2. มีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม

          3. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องทำงานเป็นทีม

          4. การประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ และการประสานงานกับผู้นำหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ

          5. เป็นนโยบายรัฐบาลที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ ทำให้การประสานงาน การบูรณาการมีความรวดเร็ว

อุปกรณ์ ->

1. การขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการ ควรกำหนดในหว้งเวลาหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากต้องใช้เวลาในการดำเนินการหลายวันติดต่อกัน

          2. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ไม่ได้รับฝึกอบรมการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพ ได้ศึกษาตามคู่มือแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนมอบให้ จึงมีความรู้ความเข้าใจไม่เป็นไปแนวทางเดียวกัน ไม่ชัดเจนในกระบวนการทำงาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ควรลดระยะเวลาการฝึกอบรมให้น้อยลง

          2. ควรจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา