เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายพรเทพ ทิพอาศน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-14:18:34

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๔๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบบที่12(พ.ศ.2560-2564)ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น1ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนฯและรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน  จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลี่ยมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยมีแผนพัฒนาที่สำคัญคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งซึ่งได้รับมอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยมีกรมการพัฒนาชุมชนเป็น

หน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

                        กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการขับเคลื่อน เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบตั้งเดิมเช่นปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ   การไม่มีอาชีพเสริมหรือรายได้เสริม  หลังฤดูกาลผลิตทางด้านการเกษตรและมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  กลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง  และส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพและแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพได้  แต่ใช้ประโยชน์ได้น้อย  ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปปฏิบัติให้สำเร็จได้   จึงมุ่งเน้นที่จะยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  นั่นคือ  รายได้ที่เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพจึงมี  โครงการสัมมาชีพชุมชน อำเภอวังหิน  จำนวน ๒๖  หมู่บ้าน  และได้คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ด้านปราชญ์ชุมชนตัวแทนหมู่บ้านละ ๑ คน เข้ารับการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน อุบลราชธรนี และฝึกอบรมระดับจังหวัด จากการฝึกอบรมทั้งสองแหล่งเรียนรู้ ผู้นำสัมมาชีพชุมชน ได้สร้างทีมวิยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆละ 4  คน  และคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจเข้าร่วมฝึกอบรมอาชีพ  หมู่บ้านละ  20  คน เมื่อผ่าการฝึกอบรมแล้วสามารถสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

๑  ประชุมชี้ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าในการคัดเลือกตัวแทนปราชญ์สัมมาชีพตัวแทนหมู่บ้านในการเข้าร่วมฝึกอบรมตามโครงการสัมมาชีพชุมชน
  ร่วมกับกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรม  ในกระบวนการคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
 3.  ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ ที่เหมาะสมกับหมู่บ้านชุมชน สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและสามรถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนสมาชิกของกลุ่ม
 4. ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการฝึกอาชีพอบรมพัฒนาความรู้ และเสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนให้แก่ผู้แทนครัวเรือน เป้าหมาย จานวน 20 คน ระยะเวลา 5 วัน

            ๕  ประสานงานหน่วยงานภาคีเกี่ยวข้อง ในการบูรณาการสนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย

                   4.  เทคนิค

                         1 เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนทุกกระบวนการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษาและวางแผนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

                         2 การเลือกอาชีพในการส่งเสริมครัวเรือนเป้าหมาย เน้นทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมที่มี     ในหมู่บ้านชุมชนเพื่อง่ายแก่การส่งเสริมสนับสนุนและสามรถต่อยอดได้

                

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การเตรียมพร้อมข้อมูลปราชญ์ชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน

 2.  การสร้างความรู้ความเข้าใจทุกกระบวนงานให้ทั้งผู้นำหมู่บ้านวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  และทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการสัมมาชีพชุมชนทุกกิจกรรม

3 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบวนงานและถ่ายทอดให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเข้าใจและสามารถขับเคลื่อนโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมทุกกลุ่มองค์ในชุมชน

4. มีการบูรณาการกับหน่วยงานภาคีในระดับอำเภอ

5.  มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ของชุมชน และภาคีที่เกี่ยวของทำให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์

6  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเข้าร่วมขับเคลื่อนในทุกกระบวนการอย่างใกล้ชิด

7. เน้นทักษะเดิมของคนในหมู่บ้านที่มีอยู่ และเป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนเอง

 8. ทุกกระบวนการผ่านการยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา