เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเตรียมการเลี้ยงไหม

โดย : นางสำราน พุทธนา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-27-11:32:54

ที่อยู่ : 29 ม.4 ต.พรหมสวัสดิ์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไหมเป็นแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ วงจรชีวิตไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 9-10 วัน กลายเป็นหนอนไหม ในระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนเป็นอาหาร และนอนประมาณ 4-5 ช่วง ใช้เวลาประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่ หรือสุกจะชักใยทำรังหุ้มตัวเอง ตัวไหมจะลอกคราบเป็นตัวดักแด้อยู่ในรัง ช่วงเป็นรังไหมใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน จากนั้นดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อ ผีเสื้อไหมจะใช้น้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายใยไหม และเจาะรังไหมออกมาผสมพันธุ์และวางไข่ โดยจะมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ประมาณ 2-3 วัน ก็จะตาย

วัตถุประสงค์ ->

1. อุปกรณ์การเลี้ยงไหม เช่น กระด้งเลี้ยงไหม มีด เขียง ตาข่ายถ่ายมูล จ่อ ตะแกรงร่อน ตะเกียง ถังน้ำ เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน รองเท้าแตะ สารโรยตัวไหม ปูนขาว เป็นต้น

 2. ห้องเลี้ยงไหม สำหรับในส่วนของอุปกรณ์และห้องเลี้ยงไหมจะต้องทำความสะอาดโดยการล้างด้วยผงซักฟอกและตากแห้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และเป็นวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่จะทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และคลุมด้วยมุ้งไนล่อนเพื่อป้องกันแมลง

3. ไข่ไหมพันธุ์ดี ส่วนใหญ่จะเลี้ยงหนอนไหมพันธุ์นางน้อย พันธุ์ดอกบัว พันธุ์นางตุ่ย และจากประสบการณ์การเลี้ยงของชาวบ้าน พบว่า การเลี้ยงหนอนไหมพันธุ์นางน้อยจะให้เส้นไหมสวยและสาวได้เยอะ

 ใบหม่อนที่เหมาะสมกับไหมวัยอ่อน

       1.ใบหม่อนสำหรับไหมแรกฟัก (วัย 1 วันที่ 1/ไหมแรกฟัก) ใช้หม่อนใบที่ 1 – 2 โดยนับใบที่คลี่ แผ่นใบรับแสงมากที่สุดเป็นใบที่ 1 หั่นละเอียด

       2.ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 1 ใช้ใบหม่อนใบที่ 1 – 3 เท่านั้น และหั่นละเอียดก่อนนำไปเลี้ยงหนอนไหม

       3.ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 2 ใช้ใบหม่อนใบที่ 4 – 6 หรือสังเกตจากตาหม่อน โดยตาหม่อนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จะใช้ส่วนนี้ขึ้นไปถึงยอดอาจเก็บโดยการตัดหรือเด็ดใบก็ได้ และห้ามใช้ยอดหม่อนอ่อน (ใบหม่อนที่ยังไม่คลี่แผ่นใบ) นำมาหั่นขนาดประมาณ 1 ซม. ก่อนนำไปเลี้ยง

       4.ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 3 ให้สังเกตจากสีของกิ่งหม่อนช่วงรอยต่อระหว่างสีเขียวกับสีน้ำตาล ใบหม่อนบริเวณรอยต่อเป็นใบหม่อนที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงไหมวัย 3 ประมาณใบที่ 7 – 10 นำมาหั่นขนาดประมาณ 1 ซม. ก่อนนำไปเลี้ยง

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เพื่อให้กลุ่มมีรายได้เพิ่ม และขยายกลุ่มสมาชิกเพิ่ม

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา