เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน

โดย : นางทองคูณ โพธิ์งาม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-00:40:45

ที่อยู่ : บ้านคลีกลิ้ง หมู่ที่ ๗ ตำบลคลีกลิ้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตร ในชุมชนมีภาวะความเสี่ยง เนื่องจากอาชีพภาคเกษตรกรรมที่ยังเป็นการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เป็นการปลูกเพียงข้าวนาปี ๆละ  1  ครั้ง  ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิต  เกษตรกรยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย หรือมีแต่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ  ประชาชนเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง ซึ่งส่วนราชการมีศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้
     ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง

วัตถุประสงค์ ->

๑. เวทีประชาคมหมู่บ้านคัดเลือกปราช์ญชุมชน  อย่างน้อยหมู่บ้านละ  ๑๐  คน  และคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้     ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน  1 คน
เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)  
๒. วิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔  คน
รวมเป็น 5 คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)
๓  ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนและประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน
๔. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน  ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้และประสานครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน เข้ารับการฝึกอบรม
๕. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ในการจัดประชุม ให้พร้อม
๖. ประสานสถานที่สำหรับให้ผู้แทนครัวเรือนศึกษาดูงาน
๗. ทบทวน จัดเตรียมเนื้อหา จัดทำแผนงาน ที่จะถ่ายทอดความรู้
๘. จัดประชุมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ โดยดำเนินการดังนี้
     ๘.1 ลำดับแรก ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชน ให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้เข้าใจถึงความเป็นไปเป็นมา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากดำเนินการ
     ๘.2 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ครัวเรือนสัมมาชีพ เกี่ยวกับอาชีพที่ต้องการเรียนรู้
     ๘.3 ถ่ายทอดความรู้เรื่องอาชีพ โดยการบรรยายทฤษฎี เป็นลำดับ ขั้นตอน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน
     ๘.4 ถ่ายทอดความรู้ โดยการสาธิตให้ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพได้เห็นขึ้นตอนการทำจริงเพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น

 

 

      ๘.5  ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพได้ลงมือฝึกปฏิบัติจริง โดยผู้ถ่ายทอดคอยแนะนำ
      ๘.6  สรุป ทบทวนขั้นตอน วิธีการทำ อีกครั้ง เพื่อเน้นย้ำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
๙. นำผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพ ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้  บ้านนายจำปี  ศรีคำ  บ้านเดื่อ  หมู่ที่ ๔  ตำบลคลีกลิ้ง
เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ และเพิ่มเติมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพ
๑๐. ติดตาม สนับสนุน แนะนำครัวเรือนสัมมาชีพในการปฏิบัติจริงตามอาชีพที่ต้องการ ณ บ้านครัวเรือนสัมมาชีพ
๑๑. คอยติดตาม สนับสนุน ส่งเสริมครัวเรือนสัมมาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของครัวเรือนสัมมาชีพ
๑๒ .ทีมวิทยากรร่วมประชุม สรุปผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงาน
และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา
๑๓ ประสานหน่วยงานภาคีการพัฒนาเพื่อขอรับการสนับสนุนความรู้ด้านต่างๆ เช่น เกษตร  กศน.  พัฒนาชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน มีความมุ่งมั่น ทำงานด้วยความตั้งใจจริง ใส่ใจในงานที่ทำ และมีติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ
๒. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และหน่วยงานภาคีการพัฒนาระดับตำบล ให้การสนับสนุน  เช่น  เกษตร  ปศุสัตว์  กศน.

อุปกรณ์ ->

๑. การถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ ผู้ถ่ายทอดต้องเตรียมความพร้อม วางแผนงานมาเป็นอย่างดี จึงจะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้รับการถอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจมากที่สุด
๒. ประสานหน่วยงานภาคีการพัฒนาเพื่อขอรับการสนับสนุนความรู้ด้านต่างๆ  เพื่อให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย  เช่น เกษตร  กศน.  พัฒนาชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จะประสบผลสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความมุ่งมั่น และตั้งใจจริงของครัวเรือนสัมมาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา