เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การตัดเย็บกระเป๋า การทอเสื่อ ของที่ระลึก

โดย : นางคำปุ่น บุญไสย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-26-21:04:24

ที่อยู่ : บ้านเลขที่...๑๑๕.. หมู่ ๗..... ซอย - ถนน ...-..... ตำบล กุดเสลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองรุง  ตั้งอยู่ติดแหล่งน้ำ มีต้นกกขึ้นเป็นจำนวนมาก ประชาชนในหมู่บ้านนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยในครัวเรือน  การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีการสืบทอดแก่คนรุ่นต่อมา อย่างที่ไม่เคยห่างหายไปจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี เนื่องจากประเพณีการต้อนรับแขกของ ชาวอีสาน เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยียนในบ้านเรือนจะต้องปูเสื่อให้แขกนั่ง เพื่อแสดงถึงการต้อนรับขับสู้ และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือน จนถึงปัจจุบันนี้เสื่อกกได้พัฒนามาสู่การผลิตเพื่อใช้เองและเพื่อจำหน่าย มีการพัฒนารูปแบบ ลวดลายโดยการใช้การย้อมสีเคมีเพื่อเพิ่มสีสัน และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกหลากหลายรูปแบบ เช่น เสื่อพับ กระเป๋าถือ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

             1. กกสด ที่นำมาสอยลอกเปลือกเป็นเส้นเล็ก ไปตากแดดให้แล้ง

             2. สีย้อมกก (ตราหัวม้า) ซึ่งสีหลักประกอบด้วย สีแดง สีเขียว สีม่วง สีเหลือ และสีขาว (สีของกก)

             3. ด้าย/เชือกไนล่อนสำหรับทอเสื่อ

             4. อุปกรณ์ทอเสื่อกก เช่น กี่ทอ ฟืม ไม้พุ่งกก

          ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนที่ 1 การสอยต้นกก
          1. ตัดต้นกกสด
          2. คัดเลือกต้นกกที่มีขนาดเท่ากันไว้ด้วยกัน นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีด ปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก)
          3. นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดด ให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด)ประมาณ 3-4 วัน 
          4. นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี
ขั้นตอนที่ 2 การย้อมสี
          1.เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสีต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีดำ สี เขียว เป็นต้น
          2. ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ
          3. นำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด
          4. พอน้ำเดือดก็นำสีที่เลือกมาเทลง 
          5. นำเส้นกกที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ
          6.นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง
          7.นำเส้นกกที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมากเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี
ขั้นตอนที่ 3 การทอเสื่อกกลายขิด ลายพื้นบ้านและต่างๆ
          1.กางโฮงที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง นำเชือกไนล่อนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ
          2. นำเส้นกกที่ย้อมสีไว้จนแห้งแล้วนำมาทอเสื่อตามลายที่ต้องการ
          3. พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก
          4. หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
          1.นำเสื่อที่ทอมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์
          2.นำมาตัดตามแบบที่ต้องการ
          3. นำมาเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบเอาไว้ โดยใช้จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. นำกกที่ตากแห้งแล้วไปแช่น้ำ เพื่อให้กกอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น เหนียว และไม่ขาด ซึ่งจะง่ายต่อการทอ

             2. ผู้ทอเสื่อกกจะต้องมีความชำนาญในการทอ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา