เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) กับการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

โดย : นายกิตติ พิศงาม ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-26-20:28:54

ที่อยู่ : สํานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรลักษ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด  ว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง  และควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน  โดยมีเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ.        เป็นเครื่องมือให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท  นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาชนบททุกระดับ  การกำหนดนโยบายแนวทางการปฏิบัติ  ช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นตั้งแต่ระดับครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัดและส่วนกลาง  ซึ่งในแต่ละตัวชี้วัดมีเจ้าภาพรับผิดชอบทั้งในระดับส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่นการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล  ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง สนับสนุนสัมมาชีพชุมชนแก่ครัวเรือนยากจนตกเกณฑ์ จปฐ.(ที่สามารถพัฒนาได้) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเพิ่มโอกาส/ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และมีรายได้ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน  เพื่อให้กลับไปสร้างทีม  และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน  โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้  เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้  และปฏิบัติเป็นอาชีพได้จริง  จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน  และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง  ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

สถานการณ์และปัญหา

การการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในห้วงที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐ หรือ เอกชน หน่วยงานต่างๆไม่สามารถนำข้อมูล จปฐ. ที่จัดเก็บและประมวลผลแล้วไปใช้ขับเคลื่อนกิจกรรม  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามบทบาท ภารกิจของตนเองได้อย่างเต็มที่ อาจจะเกิดจากการประชาสัมพันธ์น้อย  ส่งผลให้การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เมื่อไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  จึงอาจถูกละเลยความสำคัญไป

                   การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน  จากการขับเคลื่อนกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนดในพื้นที่  ทำให้ได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ในขั้นตอนดำเนินการ  ได้แก่ 

๑.  ความไม่พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายทั้งระดับครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน เช่น สภาวะเศรษฐกิจในหมู่บ้านห้วงระยะเวลาที่กำหนดกิจกรรม  ตรงกับเวลาที่กลุ่มเป้าหมายเก็บเกี่ยวและจำหน่ายผลผลิต/ช่วงสร้างรายได้  ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทุกกระบวนการได้  เป็นต้น

๒.  ระยะเวลากับรูปแบบกิจกรรมไม่เอื้อต่อการขับเคลื่อนกิจกรรม เช่น การเตรียมความพร้อมวิทยากรระดับหมู่บ้าน(๓ วัน) กิจกรรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน(๕ วัน) เป็นต้นจะเห็นได้ว่ากิจกรรมในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนมีหลากหลายรูปแบบ ใช้เวลามากเกินไป  ไม่สอดคล้อง เหมาะสมกับวิถีชีวิตของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 

          วิธีการแก้ไขปัญหา

                   ๑.  ประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของการนำข้อมูล จปฐ. ที่ได้นำไปใช้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชนชนที่เห็นผลเป็นรูปธรรมให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลฯ   

                   ๒.  การคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมาย  ควรให้หน่วยงานในพื้นที่เป็นผู้คัดเลือกโดยเฉพาะสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฯ โดยใช้ข้อมูลการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนในอดีต-ปัจจุบัน  ศักยภาพของหมู่บ้าน รวมถึงศักยภาพของบุคลากรในหมู่บ้าน เป็นแนวทาง

                   ๓.  รูปแบบวิธีการขับเคลื่อนกิจกรรม  ไม่ควรยุ่งยาก ซับซ้อน วิชาการจากตำราเกินไป และที่สำคัญไม่ควรกระทบกับรูปแบบ วิถีชีวิตปกติของกลุ่มเป้าหมาย เน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากกิจกรรม ไม่เน้นกระบวนการทางวิชาการมากเกินไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิค/รูปแบบวิธีการที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน  ด้วยการนำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) มาใช้ในครั้งนี้  ได้แก่  การวิเคราะห์บริบทหมู่บ้าน/ชุมชนในด้านต่างๆ SWOT Analysis การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ที่มีในหมู่บ้าน  จากนั้นนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยการใช้  ด้วยทฤษฎีระบบ(Systems Theory) นำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์  และวางแผนการดำเนินกิจกรรม  เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม  กลุ่มเป้าหมายสัมมาชีพชุมชน  คือ ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. (ที่สามารถพัฒนาได้) แล้วเข้าสู่กระบวนการพัฒนาด้วยสัมมาชีพชุมชน  ผลสัมฤทธิ์ คือ สามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ให้มีอาชีพ มีรายได้พ้นเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานได้  จะเห็นได้ว่ากิจกรรมทั้งสองกิจกรรมนี้สามารถวัดคุณภาพของกันและกันได้อย่างลงตัว  โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง  สร้างกระบวนการบูรณาการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ กับภาคประชาชน  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ต่อไป

อุปกรณ์ ->

๑.  มีข้อจำกัดด้านเวลาในการดำเนินการ คือ กิจกรรมที่ดำเนินการมีจำนวนมาก ระยะเวลาดำเนินการที่จำกัด ทำให้ขาดการลงลึกในรายละเอียด

                   ๒.  มีขั้นตอน กระบวนการที่ซับซ้อน  บางกิจกรรมใช้เวลาดำเนินการหลายวัน เช่น การเตรียมความพร้อมวิทยากรระดับหมู่บ้าน(๓ วัน) กิจกรรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน(๕ วัน) ทำให้กลุ่มเป้าหมายเบื่อหน่าย เนื่องจากส่งผลกระทบต่อรูปแบบชีวิตประจำวัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.  กระตุ้นให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ข้อมูล จปฐ. ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

                   ๒.  การใช้ข้อมูล จปฐ. สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนได้อย่างสอดคล้อง  และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นตัวชี้วัดคุณภาพครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน

                   ๓.  สัมมาชีพชุมชน  สามารถแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ได้อย่างเป็นรูปธรรม  สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ  และ รายได้ให้กับประชาชน  ส่งผลให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีรายได้พ้นเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ จำนวน ๓๘,๐๐๐ บาท/คน/ปี  มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา