เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมวิทยากรสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางนฤมล ขันตี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-26-10:21:04

ที่อยู่ : สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการส่งเสริมการขับเคลื่อนการ

สร้างสัมมาชีพชุมชน  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานจากพื้นที่หมู่บ้านที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี ๒๕๕๙ ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ ๑) ซึ่งอำเภอโนนคูณ มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน  ได้แก่ บ้านเท่อเล่อ หมู่ที่ ๕ บ้านหนองสำราญ หมู่ที่ ๘ บ้านหนองมะเกลือ หมู่ที่ ๒๐ ตำบลโนนค้อ บ้านก้อนเส้า หมู่ที่ ๓ บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ บ้านสนามชัย หมู่ที่ ๑๒ บ้านอุดม หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหนองกุง บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ ๓ บ้านหัวเหล่าเหนือ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบก บ้านปลาข่อ หมู่ที่ ๔ บ้านหนองปลาเข็ง หมู่ที่ ๖ ตำบลโพธิ์ และบ้านนาม่อง หมู่ที่ ๒ บ้านนาเมือง หมู่ที่ ๘ ตำบลเหล่ากวาง  ที่ต้องขับเคลื่อนตามกระบวนงานที่กำหนด เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อให้มีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ มีวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน หรือมีชื่อเรียกอีกย่างหนึ่งว่า “ครูใหญ่” ที่ไปเข้ารับการฝึกอบรม โครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ เป็นการฝึกอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาศูนย์ช่วยเหลือและพัฒนาอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์

          ๑. เพื่อสร้างทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

เพื่อให้ทีมวิทยากรมีความรู้ความสามารถในการจัดการความรู้สัมมาชีพชุมชน

๕. วัตถุดิบ

     ๑. โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

     ๒. โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

๖. อุปกรณ์

        ๑. วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน” (ครูใหญ่) ๑๓ คน/หมู่บ้าน

        ๒. .ปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ ๔ คน จำนวน ๕๒ คน (ครูน้อย)

        ๓. ครัวเรือนสัมมาชีพ หมู่บ้านละ ๒๐ คน จำนวน ๒๖๐ คน

        ๓. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน จำนวน ๔ คน

        ๔. คู่มือแนวทางโครงการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชน

        ๕. วัสดุฝึกอบรม /สื่อการฝึกอบรม/อุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น Powerpoint ปากกาเคมี กระดาษบรูฟ และอื่นๆ

 

 

 

 

 

๗. กระบวนการ     

          ๑. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๑๓ หมู่บ้านๆ ละ ๑๓ คน

              ประสานการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการทีมครูใหญ่ ทั้ง ๑๓ คน เพื่อหาแนวทางในการจัดการประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดการฝึกอบรมฯ ในระหว่างวันที่ ๗ – ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการตลอดหลักสุตร ตามเงื่อนไขหลักสูตรและแนวทางที่กำหนด พร้อมทั้งได้มีการเพิ่มเติมความรู้และทักษะอื่นๆ เช่น

    - มีการอบรมให้ความรู้ในด้านการเป็นวิทยากร เสริมทักษะการพูดในที่ชุมชน  โดยคุณละมัย  กัลปดี นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  ที่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้โดยเฉพาะ

    - มีแบ่งกลุ่มวิเคราะห์อาชีพ

    - ฝึกการเป็นวิทยากร การพูดในที่ชุมชน

    - จัดให้มีการจำลองการจัดการความรู้ด้านอาชีพ

           ผลลัพธ์   

     ๑. ทีมวิทยากรทั้ง ๖๕ คน มีความคุ้นเคยกัน ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาชีพซึ่งกันและกัน  มีการประสานแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพ และได้ร่วมกันกำหนดรายการวัสดุฝึกอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย

               ๒. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะในลักษณะสหวิทยาการ (Cross Funcion) ทำงานเป็นทีม

           ๒. การส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน ๑๓ หมู่บ้านๆละ ๒๕ คน

               ๑) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฯ ได้จัดทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และประสานภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้การสนับสนุนรายหมู่บ้าน

               ๒) ประสานให้ผู้ใหญ่บ้านร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์

    ๓.) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอและภาคีการพัฒนา ได้ไปเข้าร่วมการประชุม ในวันแรกของการ

ฝึกอบรม เพื่อ

                   - ให้ความรู้ในเรื่องความเป็นมาของโครงการส่งเสริมการสร้างเสริมสัมมาชีพชุมชน

        -  จัดเวทีจำลองวิธีการเทคนิคการการถอดองค์ความรู้ด้านอาชีพ

        -  สร้างเสริมประสบการณ์การทำงานเป็นกลุ่ม

        -  สร้างเสริมประสบการณ์การการพูดในที่ชุมชนในฐานะการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้กับทีมครูใหญ่และครูน้อย

  ผลลัพธ์

        ๑. ทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจและมีเทคนิคในการจัดการความรู้ด้านอาชีพ

         ๒, ชาวบ้าน สอนชาวบ้านได้

         ๓. มีการตื่นตัวและมีการขยายผลการถอดองค์ความรู้สัมมาชีพชุมชน

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทำงานเป็นทีม

          2. การประสานงานกับ ผู้นำหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ไม่ทางการ

          3. ความรู้อาชีพประชาชนมีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

อุปกรณ์ ->

๑. ความคาดหวังของกรมการพัฒนาชุมชนที่ว่า “ครูใหญ่”ที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร เพียง ๔ วัน ต้องมีความสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

          ๓. ผู้ทำหน้าที่“ครูใหญ่” อาจจะเป็นคนเดียวกันกับผู้นำชุมชน หรือไม่เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงาน

          ๒. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ได้เพียงแต่ศึกษาด้วยตนเองตามคู่มือแนวทาง  จึงมีความรู้ความเข้าใจมากบ้างน้อยบ้าน และไม่ชัดเจนในกระบวนงานที่กำหนด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด  ๑ วัน  กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

            ควรให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนมืออาชีพ

          ๒. จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อย่างน้อยอำเภอละ ๑ คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจโครงการ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา