เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนคนดวนใหญ่

โดย : นางเพ็ญศรี วิจิตร ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-26-08:09:06

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เศรษฐกิจครัวเรือน เป็นปัญหาเชิงระบบเชิงโครงสร้างระดับชาติที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งทุกรัฐบาลได้พยายามหาทางแก้ไข สนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนให้มีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รูปแบบในการบริหารจัดการทั้งแผนงานโครงการงบประมาณและหน่วยงานยังคงเป็นแบบแยกต่างคนต่างทำ จึงทำให้การดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขาดพลังในการขับเคลื่อน ประชาชนยังคงไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ประชาชนเป็นผู้รับรู้ รับทราบปัญหาเป็นอย่างดี และเป็นผู้ที่เดือดร้อนอย่างแท้จริง จึงเห็นสมควรให้ประชาชนเป็นผู้แก้ปัญหาเอง โดยมีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือ โดยดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนคนในชุมชนต้องต้องได้รับการพัฒนาอาชีพ โดยเน้นให้ผู้นำสัมมาชีพชุมชนซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และให้การแนะนำช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน มีรายได้ที่สามารถดำรงชีวิตที่พอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนตำบลดวนใหญ่ มีเป้าหมายที่จะทำให้จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบสัมมาชีพชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกันจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ บ้านดวนใหญ่ หมู่ที่ ๒ และบ้านโนนดู่ หมู่ที่ ๗ จำนวน ๒ หมู่บ้าน ๔๐ ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

๔.๑กระบวนการ/วีธีการแก้ไขปัญหา

          ขั้นแรก ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจเพื่อให้สามารถสร้างและพัฒนาผู้นำและองค์กรขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ได้

           ขั้นที่สอง สร้างและพัฒนาเครื่องมือ/สื่อขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน เช่น เอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน แบบบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน แฟ้มฐานข้อมูล

            ขั้นที่สาม ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                   -ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ(กพสอ./ผู้นำ อช. /ศอช.อ. เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ฯ)

                   -เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ๆ ละ ๕ คน

                   -ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ๆ ละ ๒๐ คน ๓ กิจกรรม ๕ วัน (๑.สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในหมู่บ้าน ๓ วัน ๒.ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ๑ วัน  ๓.ฝึกปฏิบัติอาชีพครัวเรือนสัมมาชีพ ๑ วัน)

                    -สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเลี้ยงกบแบบธรรมชาติบ้านโนนดู่ กลุ่มไข่เค็มสมุนไพรลูกหม่อนบ้านดวนใหญ่ และพัฒนากลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านโนนดู่

                    -สนับสนุนการคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง ปี ๒๕๖๐ หมู่บ้านละ ๑ ครัวเรือน ไปตำบลละ ๑ ครัวเรือน ไปอำเภอละ ๑ ครัวเรือน มอบใบประกาศเกียรติคุณในที่ประชุมอำเภอ

          ขั้นที่สี่ การติดตามสนับสนุน ให้กำลังใจ เยี่ยมเยียนให้การแนะนำอย่างต่อเนื่อง บันทึกผลการเยี่ยมเยียนและข้อเสนอแนะลงในสมุดบันทึกการประชุมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนหมู่บ้าน และรายงานผลอำเภอ

          ๔.๒ เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนคนดวนใหญ่

                -น้อมนำหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ มาปรับใช้ในการทำงานแบบมีส่วนร่วมและเกื้อกูลช่วยเหลือกัน

                -สร้างแรงจูงใจครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนและทีมปราชญ์ให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาชุมชนและพัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบล

          ๔.๓ ข้อพึงระวัง

                 -ให้ประชาชนเป็นผู้แก้ปัญหาเองโดยการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนบนพื้นฐานบริบทของชุมชน โดยมีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ตามศักยภาพและความสามารถอย่างแท้จริง

                 -ระยะเวลาการอบรมกระทบกับวิถีชีวิตประจำวัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผลการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนคนดวนใหญ่

          ๑.เกิดการทำงานเป็นทีมและเสียสละแบ่งปันและดูแลซึ่งกันและกัน จำนวน ๒ หมู่บ้าน ๔๐ ครัวเรือน

          ๒.จัดตั้งกลุ่มอาชีพ จำนวน ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาชีพเลี้ยงกบแบบธรรมชาติบ้านโนนดู่ และกลุ่มไข่เค็มสมุนไพรลูกหม่อนบ้านดวนใหญ่

          ๓.เกิดการพัฒนาต่อยอดกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านโนนดู่

          ๔.ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนดวนใหญ่ จำนวน ๔๐ ครัวเรือน มีการสร้างเครือข่ายอาชีพและเชื่อมโยงการตลาด ทั้งในและนอกชุมชน ทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข

          ๕.ทีมปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเกิดความภูมิใจและสามารถพัฒนาอาชีพครัวเรือนให้เป็นแบบอย่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชนได้

ยึดครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ใช้การทำงานแบบมีส่วนร่วม ตั้งเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน ใช้กระบวนการทำงานเป็นทีม และภาครัฐติดตามสนับสนุน ให้กำลังใจ เยี่ยมเยียนให้การแนะนำอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา