เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน…คนบ้านเฮา

โดย : นางอรัญญา ใยแสง ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาาชุมชนชำนาญการ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-20:49:50

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 045-691176

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อำเภออุทุมพรพิสัย  มีเป้าหมายการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน รวมจำนวน 20 หมู่บ้าน และข้าพเจ้า นางอรัญญา  ใยแสง  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  จำนวน  2  หมู่บ้าน คือ บ้านโนนหาญหก หมู่ที่ 5 ตำบลสำโรง และบ้านหนองโปร่ง  หมู่ที่ 1  ตำบลโคกหล่าม  ในการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1.      ศึกษาคู่มือ/แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2.      ศึกษากระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3.      ประสานผู้นำชุมชน เพื่อประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกปราชญ์  ที่จะเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย

4.      ดำเนินการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจตามแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการ

สร้างสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจร่วมกัน และคัดเลือกปราชญ์จากเวทีประชาคม 1 คน ส่งข้อมูลให้ สพจ. และเตรียมความพร้อมส่งเสริมให้ปราชญ์ไปรับการฝึกอบรมระดับเขต และจังหวัด

5.      ส่งเสริมสนับสนุนเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพในระดับหมู่บ้าน คือ ปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมและผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”ของหมู่บ้าน (ครูใหญ่) 1 คน + ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเพิ่มอีก 4  คน (ครูน้อย) รวมเป็นทีมวิทยาการสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน 5 คน  โดยให้ปราชญ์ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ดังนี้

(1)    สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชน

(2)    ถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

(3)    แบ่งครัวเรือนรับผิดชอบ 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือน

(4)    ทบทวนและจัดทำแผนการฝึกอบรมอาชีพ การส่งเสริมสนับสนุน การกำกับติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ

(5)    วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการฝีกอาชีพ

(6)    จัดเตรียมพื้นที่อบรม ศึกษาดูงาน และวัสดุ/อุปกรณ์ในการฝึกอบรม

6.      ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการฝึกอบรมอาชีพในหมู่บ้าน ให้เป็นไปตามกระบวนการ

7.      ส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ

8.      ติดตาม ประเมินผล และให้กำลังใจ คำแนะนำต่าง ๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.การศึกษาคู่มือ/แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ

2, การประสานงาน  การเตรียมความพร้อม  มีการเตรียมการที่ดี

3. การให้ความร่วมมือร่วมใจของผู้นำชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพ และครัวเรือนสัมมาชีพ

4. การติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนให้คำแนะนำจากพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลอย่างสม่ำเสมอ

อุปกรณ์ ->

เมื่อฝีกอบรมอาชีพเสร็จแล้ว  ทีมวิทยากรสัมมาชีพและครัวเรือนสัมมาชีพไม่มีการดำเนินการตามกระบวนการต่อตามเป้าหมาย  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องไปกระตุ้น ติดตามอย่างสม่ำเสมอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      ควรปรับขั้นตอน กระบวนการ ให้กระชับ และลดระยะเวลาการอบรมน้อยลง

2.      ควรเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในการออกติดตามส่งเสริมสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา