เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านโนนรัง ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางชมพูนุท ดวงทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-13:29:40

ที่อยู่ : สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนคูณ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

 เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานในเขตพื้นที่อำเภอโนนคูณ   จากโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตรและภาคชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1 ) จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน และในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบตำบลสองตำบล มีจำนวน ๕ หมู่บ้าน มีการใช้เวทีคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ ๑ คน  หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน  แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ 20 คน รับผิดชอบ คนละ ๔ ครัวเรือน  พัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน โดยสถาบันการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ปราชญ์กลับไปสร้างทีมและจัดฝึกอบรมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

๔.วัตถุประสงค์

๑.คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

2. อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

3. ปรับเปลี่ยนทิศนคติ  มอบนโยบายแนวทางการทำงาน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะ

4.ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินส่งเสริม และติดตามการฝึกปฏิบัติของครัวเรือน

5.จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาอื่นๆ

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ

          ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

          1. ขั้นเตรียมการ

๑.๑ เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

1.๒ การสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน
          ๑.2 คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ในหมู่บ้าน

เพื่อเตรียมเข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ จำนวน 10 คน จากเวทีประชาคม และจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

1.3 คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม (จากทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คนที่คัดเลือกไว้แล้ว) ได้แก่ นางไพรวัลย์  วงค์ประเทศ และจัดทำข้อมูลปราชญ์ (ผู้เชี่ยวชาญ/ประสบความสำเร็จในอาชีพ) ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

    1.๔ ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการ-พัฒนาชุมชน

1.๕ เตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้าง

สัมมาชีพชุมชน

2. ขั้นตอนดำเนินการ

      2.1 การฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 ตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ

                    - แจ้งประสานปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพที่ได้จัดทำทะเบียนไว้แล้ว คือนางไพรวัลย์  วงค์ประเทศ  เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 รุ่นที่ 18 ในระหว่างวันที่ 8 - 17  มกราคม 2560 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

      2.2 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด

            - แจ้งประสานปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 ซึ่งเรียกวิทยากรผู้นำสัมมาชีพนี้ว่า “ครูใหญ่” เข้าร่วมโครงการโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด รุ่นที่ 1 ในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 5 เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1

      2.3 โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                      1 ดำเนินการร่วมกับ “ครูใหญ่” จัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคัดเลือกปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพ ดังนี้

                             - คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน ซึ่งเรียกปราชญ์ชุมชนนี้ว่า“ครูน้อย” เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เรียบร้อยแล้ว และจัดทำทะเบียนข้อมูลทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ส่งให้ส่งข้อมูลให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

ศรีสะเกษ

                   - คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 1 คน) และจัดทำทะเบียนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ                                

            2 ร่วมกับ “ครูใหญ่” ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

  3 ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

ระยะเวลา 3  วัน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุม เพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับทำหน้าที่ฝึกอบรมให้กับผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอบรมอาชีพต่อไป ดังนี้

      1) วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน และสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย “ครูใหญ่” ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

      2) วันที่ 2 เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อ

                1) ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

                2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่

                3) แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                               3) วันที่ 3 ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้

 2.4 โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนาร

ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

                            1)นำแผนปฏิบัติการ มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนบ้านระดับหมู่บ้าน และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ

                           2)เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน(ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ เตรียมจัดหาวัสดุฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

                            3) ร่วมกับภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน (ครูใหญ่ และครูน้อย) ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

                             1) วันที่ 1 - 3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนบ้านโนนรัง)

                             2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ บ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง บ้านนายประเสริฐ  พิทักษ์ ปราชญ์ชุมชนด้านเกษตรผสมผสาน หมู่ที่ 5 ตำบลโนนค้อ
                             3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือการเพาะเห็ดนางฟ้านางรม ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

                    ๒.๕ สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                   2.๖ ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook  เว็บไซต์สัมมาชีพ เป็นต้น  

          3. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔  ตำบลหนองกุง

          4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

          การสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านโนนรัง หมู่ที่ ๔

ตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

นอกจากดำเนินการตามแนวทางและกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้รับผิดชอบการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว ให้ดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้มีเทคนิคดังนี้

          1. สร้างการรับรู้การดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย ผ่านเวทีประชาคมของกิจกรรมพัฒนาชุมชน และผ่านทางผู้นำชุมชน บอกเล่าปากต่อปาก

          2. ยกให้ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (“ครูใหญ่” “ครูน้อย”)  เป็นแกนนำหลัก ในการสร้างสัมมาชีพชุมชน ส่วนพัฒนากรเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนช่วยเหลือ

          3. เปิดโอกาสให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (“ครูใหญ่” “ครูน้อย”) ได้ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มกำลังศักยภาพในทุกเวทีของการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยการพูดสร้างความมั่นใจ
ยกย่องชมชื่น และสร้างการยอมรับจากชุมชน

          4. ใช้กระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” และยึดหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน” และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านกันเองในสิ่งที่เขาอยากรู้ ในสิ่งที่เขาต้องการและอยากจะทำ ลงมือปฏิบัติเอง โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ

          5. ดึงผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

 

 

 

๖.สร้างความมั่นใจให้กับทีมวิทยากรโดยการชื่นชมให้เกียรติยกย่องให้เป็นผู้รู้ ครูใหญ่ ครูน้อย มีความสามารถ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากอาชีพที่ต้องการ ในเวทีประชาคม

๗.การใช้ภาษา ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย (ใช้ภาษาพื้นบ้านภาษาอีสาน)

๘.การลงพื้นที่ติดตาม รับทราบปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และช่วยกันแก้ไขปัญหานั้นๆ

๙.ติดตามและให้กำลังใจแก่ปราชญ์สัมมาชีพที่ทำงานร่วมกัน

๑๐.มีความเข้าใจว่าศักยภาพของคนเราแตกต่างกัน

๑๑ การช่วยเหลือกัน ทั้งระหว่างปราชญ์กับปราชญ์ ปราชญ์กับผู้เข้าอบรม หรือปราชญ์กับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

๑๒.การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

๗. ผลของการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนโนนรัง

          1. บ้านโนนรัง  มีผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ จำนวน 1 คน ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพ จำนวน 1 ทีม และมีครัวเรือนสัมมาชีพ จำนวน  20 ครัวเรือน

          2. มีองค์ความรู้ด้านอาชีพของปราชญ์ชุมชน จำนวน 5 องค์ความรู้

          3. ครัวเรือนสัมมาชีพ ได้รับการความรู้ในการนำมาพัฒนาอาชีพ และนำความรู้ไปประกอบอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพ      

          4. เกิดทางเลือกอาชีพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ ในการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่พื้นเมืองและ
การเลี้ยงปลาดุก เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

          5. สร้างความรักความสามัคคี และสร้างความเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในชุมชน

          6. มีแกนนำหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป

          7. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้นำปรัชญาพัฒนาชุมชน หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาผู้นำ ในพื้นที่ เกิดทักษะในการทำงานพัฒนาชุมชน สามารถขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ       

          8. หน่วยงานและภาคีการพัฒนา มีพื้นที่การทำงานที่ชัดเจนขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

(1) วิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นทีมวิทยากรของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วจึงเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพที่มีความเข้มแข็ง

(2) ผู้นาชุมชนให้การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญการขับเคลื่อนกิจกรรม

(3) อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน

(4) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา