เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างบ่อเลี้ยงกบ

โดย : นายเหมือน ไชยสาร ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-12:25:58

ที่อยู่ : 8 หมู่ที่ 3 ตำบลพิมายเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปัจจุบันกบนับว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างหนึ่ง  สามารถนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร  และเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามได้ การเลี้ยงไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก  ในเขตรั้วบ้านก็สามารถทำเป็นบ่อกบได้  แหล่งเรียนรู้โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขื่อนดินช่องเขาขาด  จึงได้จัดทำบ่อทดลองเลี้ยงเพื่อศึกษาธรรมชาติของกบ  การเจริญเติบโต  และการขยายพันธุ์รวมทั้งโรคต่างๆ ของกบ เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรนำไปพิจารณาประกอบการลี้ยงเพื่อเพิ่มรายได้ในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง และยังมีรูปแบบการเลี้ยงที่สามารถเข้ากับบริบท ทรัพยากรของแต่ละคนได้

กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้น ๆ หรือแอ่งน้ำเล็ก ๆ มีหัวลักษณะคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม มีสัณฐานค่อนข้างแบนเรียบ ปากกว้าง นัยน์ตากลมโตและโปนโดยบริเวณหนังตามีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิดนัยน์ตาดำของกบ มีหูอยู่บริเวณด้านหลังของนัยน์ตาที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลม ๆ ทำหน้าที่เหมือนกับแก้วหูของมนุษย์มีรูจมูกสองรูอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา ภายในปากมีฟันขนาดไล่เลี่ยกันคล้ายกับซี่เลื่อย ลิ้นมีปลายแยกออกเป็นสองแฉก ใช้สำหรับจับแมลงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร หายใจโดยใช้ปอดและสามารถหายใจได้ทางผิวหนัง

วัตถุประสงค์ ->

1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่สูงหรือที่ดอน  มีลักษณะราบเสมอ  ใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ  ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
                2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1.20 เมตร จำนวน 2 บ่อเพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ  จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่ออนุบาลกบจำนวน 1 บ่อ  โดยก่ออิฐบล็อกและฉาบด้วยปูน  ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ   ตรงส่วนล่างที่กักเก็บน้ำควรสูงจากพื้น 1 ฟุต  พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำและมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด
3. พันธุ์กบที่เพาะเลี้ยง  ควรเลือกกบนาเพราะเจริญเติบโตเร็ว  และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคกบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย  เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อดี

  1. สามารถเลี้ยงในบริเวณบ้าน ไร่ นา หรือหากเป็นทุ่งนาได้จะดีมาก
  2. อายุการใช้งานของกระชังเฉลี่ย 3-5 ปี ต่อกระชัง เงินลงทุนกระชังละไม่เกิน 600 บาทต่อ กระชัง
  3. เปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อย ๆ และง่าย รวดเร็ว กว่าแบบอื่น ๆ มาก ถ้ามีน้ำคลอดสามารถเปิดให้ไหลผ่านหมุนเวียนได้ตลอด จะดีที่สุด กบไม่มีโรค และไม่เปลืองค่าใช้จ่าย
  4. กบมีพยาธิน้อยเพราะไม่สัมผัสดิน โคลนโดยตรง
  5. กบไม่มีกลิ่นอับติดตัว เพราะเลี้ยงใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด
  6. ให้อาหารง่าย ไม่สิ้นเปลืองอาหาร เหมือนการเลี้ยงบ่อปูน
  7. เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดอีกวิธีหนึ่ง
  8. จำนวนกบที่จับขายได้จะมีมากกว่าบ่อดิน
  9. ควบคุมดูแลโรคได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ เหมือนกับการเลี้ยงในบ่อปูนแต่ด้อยกว่าเล็กน้อย
  10. สามารถจับกบขายได้ตลอดเวลา

ข้อเสีย

  1. ลงทุนสูงกว่าการเลี้ยงแบบบ่อดิน แต่น้อยกว่าการสร้างบ่อปูน
  2. ถ้าน้ำเสีย กบในกระชังทุกบ่อจะได้รับผลกระทบทั้งหมดคับ ควบคุมโรคได้ยากกว่าบ่อปูน
  3. กรณีที่สร้างกระชังไม่ดีพอ คือเย็บกระชังเอง มักทำให้เกิดรูรั่ว ทำให้กบหลบหนีในที่สุด
  4. ต้องรื้อถอนและทำกระชังใหม่ เมื่อครบระยะเวลา 4-5  ปี ทำให้ต้องลงทุนกระชังอีกครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา