เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางราณี วงศ์ลุน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-16:10:58

ที่อยู่ : 89 หมูที่ ๖ ตำบลบึงบูรพ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เป็นนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน และเป็นวาระกรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๖๐   ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพครัวเรือน มีเป้าหมายสุดท้ายคือ เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคงประชาชนใช้ชีวิต อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข  อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบึงบูรพ์ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนตามนโยบาย และวาระกรมการพัฒนาชุมชน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยการ บูรณาการทำงานกับหน่วยงานภาคีการพัฒนาทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย  ปกครองอำเภอบึงบูรพ์ พัฒนาชุมชนอำเภอ       บึงบูรพ์ สถานีตำรวจภูธรบึงบูรพ์ เกษตรอำเภอบึงบูรพ์ สาธารณสุขอำเภอบึงบูรพ์ ท้องถิ่นอำเภอบึงบูรพ์  ปศุสัตว์อำเภอ  บึงบูรพ์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบึงบูรพ์ เทศบาลบึงบูรพ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะ กำนันตำบลเปาะ กำนันตำบลบึงบูรพ์ ผู้นำกลุ่มองค์กร วิทยากรสัมมาชีพ ครัวเรือนเป้าหมาย บูรณาการด้านวิชาการ องค์ความรู้ งบประมาณ ในการขับเคลื่อนสัมมาชีพในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน  

                                                                

วัตถุประสงค์

          ๑) เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความมั่นคง ใช้ชีวิต อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข

          ๒) เพื่อให้มีการขยายผลการขับเคลื่อนสัมมาชีพไปทุกครัวเรือนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ / ขั้นตอนการดำเนินงาน

           ๑) ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ สร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานตามโครงการ

           ๒) นำโครงการสัมมาชีพชุมชนแจ้งในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอและกำนันผู้ใหญ่บ้าน

            ๓) ตรวจสอบหมู่บ้านพื้นที่เป้าหมาย ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านด้านอาชีพที่ประสบความสำเร็จ บ้านละ ๑๐ คน เพื่อเตรียมเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

            ๔) ประสานวิทยากรสัมมาชีพบ้านละ ๑ คน ไปอบรมที่ศูนย์ช่วยเหลือพัฒนาชุมชนจังอุบลราชธานีและจังหวัด  ศรีสะเกษ

            ๕)ประสานงานหน่วยงานภาคีเกี่ยวข้อง ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรม บูรณาการทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ ระดับหมู่บ้าน ในกิจกรรมโครงการหลัก โครงการต่อยอด โครงการสนับสนุน ดังนี้

                   โครงการหลัก

                     ๕.๑) โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คน

                     ๕.๒) โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในระดับหมู่บ้านๆละ 20 คน

                     ๕.๓) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ  

                     โครงการต่อยอด

                    ๕.๔) โครงการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

                     ๕.๕) โครงการสนับสนุนสัมมาชีพแก่ครัวเรือนยากจน

                     ๕.๖) โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

                     โครงการสนับสนุน

          ๕.๗) ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

 

 

 

๖) มีติดตาม สนับสนุน การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

.

ผลการดำเนินงาน

          จากการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชนอำเภอบึงบูรพ์ มีผลการดำเนินงานดังนี้

          เชิงปริมาณ

๑)      มีวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านๆละ ๕  จำนวน ๑๓ บ้าน รวม ๖๕ คน

๒)      มีองค์ความรู้ด้านอาชีพ จำนวน ๑๓๐ องค์ความรู้

๓)      ครัวเรือนเป้าหมายผ่านการฝึกอบรม จำนวน หมู่บ้าน ๒๐ ครัวเรือน ๑๓ หมู่บ้าน รวม ๒๖๐ ครัวเรือน

๔)      มีการสนับสนุนการกิจกรรมด้านอาชีพ ๑๓ หมู่บ้าน และสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพบ้านละ ๑ กลุ่ม

          เชิงคุณภาพ

๑)      วิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านๆละ ๕  จำนวน ๑๓ บ้าน มีความรู้ความเข้าใจสามารถถ่ายทอดความด้านอาชีพแก่ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำไปปฏิบัติได้

๒)      ครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการฝึกอบรม ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพในครัวเรือนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) มีการเตรียมพร้อมและดำเนินกิจกรรมโครงการสัมมาชีพอย่างมีระบบ

            ๒) เป็นโครงการที่ให้คนในชุมชนเป็นวิทยากรและถ่ายทอดให้คนชุมชน ทำให้การขับเคลื่อนโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมทุกกลุ่มองค์ในชุมชน

            ๓) มีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม

            ๔)การประชาสัมพันธ์โครงการฯ ของชุมชน และภาคีที่เกี่ยวของทำให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์

            ๕)เป็นนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ทำให้การประสานงาน การบูรณาการโครงการ มีความรวดเร็ว

อุปกรณ์ ->

๑)      ในการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการระดับหมู่บ้าน ควรกำหนดดำเนินการในห้วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เพราะทำ

ให้ครัวเรือนได้กิจกรรมเป็นไปคามโครงการฯ เพราะระยะเวลาการดำเนินงานโครงการหลายวัน หลายขั้นตอน

๒)      การเร่งรัดการเบิกงบประมาณ ควรวางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนให้เป็นตามไตรมาส

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)      โครงการ/กิจกรรมสัมมาชีพ ที่อนุมัติให้อำเภอดำเนินการควรลดระยะเวลาการฝึกอบรมให้น้อยลง

๒)      การดำเนินงานโครงการในระดับหมู่บ้านควรเพิ่มครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มให้เป็นอย่างน้อย ๓๐ ครัวเรือน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา