เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนบ้านยาง หมู่ที่ 1 ตำบลยาง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางสมปอง แก้วโสพรม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-04:25:40

ที่อยู่ : สพอ.กันทรารมย์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายใน หมู่บ้านจากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน  และเป็นกระบวนการที่ต้องสร้างการเรียนรู้ที่ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในการพัฒนาตน   ครอบครัว  กลุ่มและชุมชนซึ่งเป็นการร่วมกับประชาชนในระดับพื้นที่ ต้องเป็นผู้ที่คอยเอื้ออำนวยความสะดวกและประโยชน์แก่คนในชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง และต้องดึงเอาศักยภาพที่ของคนในชุมชนออกมาใช้ประโยชน์ โดยอาศัยทักษะของปราชญ์ชุมชนที่มีเป็นทุนเดิมและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมอาชีพตนเอง  เพื่อก่อให้เกิดรายได้แนวทางสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

     การสร้างสัมมาชีพชุมชนของบ้านยาง หมู่ที่ 1  ตำบลยาง   อำเภอกันทรารมย์    จังหวัดศรีสะเกษ   ได้ดำเนินการตามกระบวนการของกรมการพัฒนาชุมชในการสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนของหมู่บ้านดังกล่าว ตอนขั้นตอน  โดยแยกเป็นขั้นตอน  3  ขั้นตอนดังนี้           

1) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ

ของยุทธศาสตร์ที่ 1 จำนวน 1 คน  เข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร

“วิทยากร ผู้นำสัมมาชีพ” คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมระดับหมู่บ้าน

               ทีมวิทยากรระดับหมู่บ้านเตรียมความพร้อมในพื้นที่    เพื่อวิเคราะห์และดึงศักยภาพของคนในชุมชนให้รู้ความต้องการและการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ตรงกับทรัพยากรที่มี ดังนี้

 

               1.)การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพให้พิจารณาจากทะเบียนครัว เรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก  และจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่สมัครใจ  และตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน และจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนข้อมูลครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนทั้ง 20 ครัวเรือน  และข้อมูลรายได้เฉลี่ยจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในปี 2560

              2.) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการวิเคราะห์ประเภทอาชีพ  เพื่อฝึกอบรมและกำหนดสถานที่ศึกษาดูงาน  โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชนว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้สามารถสร้างรายได้จริง และศึกษาดูงานในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หรือบ้านปราชญ์ชุมชนในอำเภอเดียวกัน 

               3) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล และประสานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุฝึกอาชีพเพื่อดำเนินการสนับสนุนการฝึกอาชีพ ให้ครัวเรือนเป้าหมายนำไปฝึกอาชีพได้จริง โดยเน้นทักษะที่มีเป็นทุนเดิมพร้อมทรัพยากร  คน ภูมิปัญญาที่สอดคล้องและต้องการพัฒนาบ้านทุนเดิมที่พร้อมพัฒนา

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                       1.) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง
                       2)  ผู้นำชุมชนและปราชญ์ร่วมมือพร้อมจะพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
                     3)  สำคัญผู้นำชุมชนปราชญ์เสียสละ อดทน จริงใจ ขยัน ให้ความร่วมมือจากทีมวิทยากร      ทุกคนเป็นอย่างดี และได้รับความร่วมมือจากครัวเรือนเป้าหมาย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา