เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิค การเพาะเห็ด

โดย : นายวิชัย จำปาหอง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-24-23:08:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 106 หมู่ 7 ซอย - ถนน - ตำบล ชำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 เริ่มเพาะเห็ดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เริ่มจากการใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัตถุดิบ ต่อมาราคาขี้เลื่อยแพงขึ้นจึงได้ทดลองนำฟางข้าวมาเป็นวัตถุดิบแทนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเพราะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดฟาง ซึ่งผู้ที่เป็นต้นแบบในการเพาะเห็ดคือคุณพ่อชารี เซียงพฤกษ์  ท่านทำให้เห็นว่าการเพาะเห็ดนั้นทำให้เกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและสามารถมีอาหารบริโภคได้ตลอดปี  ซึ่งขั้นตอนการผลิตมีดังนี้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ/อุปกรณ์

                             ๑.ขี้เลื่อย                                         ๑๐๐      กก.

                   ๒.ยิปซั่ม                                          ๑/๒      กก.

                             ๓.ปูนขาวเผา                                        ๑      กก.

                             ๔.รำอ่อน                                         ๖-๘       กก.

                             ๕.ดีเกลือ                                             ๒       ขีด

                   ๖.คอขวด+จุก ปิดฝา                   ๗.เชื้อเห็ด

                   ๘.EM+กากน้ำตาล                    .น้ำ

                   ๑๐.ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด

 

          5. กระบวนการ/ขั้นตอน

                                นำขี้เลื่อย ยิปซั่ม ปูนขาว  รำอ่อน ผสมคลุมเคล้าให้เข้ากันเก็บเศษไม้ชิ้นใหญ่ออกเพื่อป้องกันการทิ่มถุงขาด จากนั้นนำดีเกลือ EM กากน้ำตาล ผสมน้ำสะอาด คนให้ดีเกลือละลายนำมาเทราดลงในกองขี้เลื่อยโดยให้ความชื่นที่ ๖% (กำดูแล้วเป็นก้อนไม่แตกจากกัน) จากนั้นบรรจุลงถุงพลาสติกสำหรับเพาะโดยทุบให้แน่นพอสำควรจากนั้นใส่คอขวดดึงปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันเห็นเกิดในถุงจากนั้นนำสำลียัดใส่ในจุกฝาขวดแล้วปิดกันเชื้อโรคจากนั้นนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ ๑๐๐ องศา ๒๕ ซม.นำมาพักไว้ให้อุ่น  (ประมาณ๔๐๐ องศาจับดูแล้วไม่ร้อน)ใส่เชื้อแล้วพักไว้ในโรงพักประมาณ ๑ เดือนสังเกตจะมีสีขาวขึ้นเต็มก้อน คัดก้อนที่ติดเชื้อออก  เปิดดอกแล้วรถน้ำ ๓ เวลาประมาณ ๓ วัน จะเริ่มเกิดดอกพอเห็ดนานพอสมควรแล้วเก็บขาย กิโลกรัมละ ๖๐-๗๐ บาท

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เกษตรกร มักจะนิยมใช้ฟางข้าว เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เห็ดฟาง บรรพบุรุษของเราจะใช้ฟางข้าวในการเพาะเห็ด หรือ เห็ดจะขึ้นเองตามกองฟาง แต่ปัจจุบันที่เราไม่พบเห็นเห็ดตามกองฟาง เหมือนในอดีต เพราะ ฟางข้าวมีสารเคมีตกค้าง จากการที่เกษตรกรใช้สารพิษ ในการฆ่าแมลง และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว เป็นสาเหตุที่เราไม่แนะนำให้ใช้ฟางข้าว เพราะนอกจากเห็ดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรเพราะสารเคมีแล้ว สารพิษที่ตกค้างในฟางข้าวยังซึมผ่านเส้นใยของเห็ด เมื่อเราบริโภคเห็ดเข้าไปก็รับสารพิษเข้าไปด้วย 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา