เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านกอกหวานเหนือ หมู่ที่ 14 ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางนิตยา วงค์ษา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-18:24:16

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  12  (พ.ศ.2560 – 2564)  ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม  เป็น  1  ใน  10  ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ  และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผนดิน  จำนวน  11  ด้าน  ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ  ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยมีแผนงานที่สำคัญ  คือ  แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากละชุมชนเข้าแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลัก บูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

          สถานการณ์ของสังคมไทยปัจจุบัน การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตร  ซึ่งเป็นคนส่วนมากในสังคม  มีความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพแบบเชิงเดี่ยว เช่น  ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ประสบปัญหาตามมา  ได้แก่  ผลผลิตมีราคาตกต่ำ  ปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลง ภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  เป็นต้น  ขาดอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว  ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างถิ่น  และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ  แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร  ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน  แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          ดังนั้น  ในปี  2560  นี้  จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  ซึ่งก็คือ  “รายได้”  ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยการสร้างอาชีพ  จึงเป็นที่มาของ  “สัมมาชีพชุมชน”  ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพบทหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในชุมชน  มีคนเก่งและประสบความสำเร็จในชีวิตหลายประเภท  เช่น  ทำนาได้ผลผลิตสูง  ปลูกพืชแบบพึ่งพาแล้วเกิดความยั่นยืน  แปรรูปอาหาร  มีความชำนาญเกี่ยวกับงานฝีมือ เย็บปักถักร้อย  ประดิดประดอย แกะสลัก  เป็นต้น  ซึ่งได้คัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอน  การนำเสนอให้กับคนเหล่านี้ให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”  หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่ม  หมู่บ้านละ  4  คน  แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนในอย่างฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพ  หมู่บ้านละ  20  คน  หรือครัวเรือน  เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบทพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้  ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้า  ก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพ       สร้างผลผลิต  สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ  OTOP  เพื่อเกิดความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

 กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวัง                                                                                              4.1 กระบวนการ/วิธีการ 

           4.1.1 การสร้างสัมมาชีพชุมชน  เป็นกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน  ซึ่งมีโครงการที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องสัมพันธ์กัน  ใน  3  ลักษณะ  คือ โครงการหลัก  จำนวน  5  โครงการ  โครงการสนับสนุน  จำนวน  3  โครงการ   และโครงการยกระดับต่อยอด  จำนวน  7  โครงการ     

           4.4.2  การประเมินครัวเรือนสัมมาชีพชีพชุมชนด้วยหลัก  3 มี  2 ไม่  ­­   

 

                                                                                       

 

4.2  เทคนิค

                 บ้านกอกหวานเหนือ  หมู่  14  ตำบลโพธิ์ศรี  เดิมเป็นหมู่บ้านโครงการโรงเรียนชาวนาเกษตรอินทรีย์ ซึ่งผลิตข้าวอินทรีย์ไว้บริโภคในชุมชน และต่อยอดมาเป็นพืชผักต่างๆ เช่น มะนาว  ไผ่กิมจู  พืชผักสวนครัวอินทร์  ชาวบ้านแห่งนี้ มีวิธีชีวิตที่เรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยกันภายในชุมชน  ผลผลิตที่ได้จึงนำมาบริโภคในครัวเรือน และมีขายนอกชุมชนเป็นบางส่วน  การสร้างสัมมาชีพชุมชนของบ้านกอกหวานจึงเกิดจากปราชญ์ชุมชนที่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรแบบผสมผสาน  จึงไม่ยากนักที่จะถ่ายทอดให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม โดยดำเนินการ ดังนี้                                                                                                                                                 4.2.1  สร้างความคุ้นเคย  กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้                                                                   

          4.2.2   สร้างความเชื่อมั่น  และเกิดความภาคภูมิใจ

          4.2.3   ติดตาม ประเมินผล  อย่างต่อเนื่อง

5.  ผลของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

               บ้านกอกหวานเหนือ  หมู่  14  ตำบลโพธิ์ศรี  มีทีมวิทยาการที่เข้มแข็ง  ชุมชนเกิดความสามัคคี  สามารถต่อยอดอาชีพของชุมชนได้  โดยมีการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงไก่พันธ์พื้นเมือง จำนวน  1  กลุ่ม   และกลุ่มทอผ้าไหม       จำนวน  1  กลุ่ม  ซึ่งได้ต่อยอดโดยการนำผลิตภัณฑ์มาลงทะเบียนเป็นสินค้า  OTOP  ของอำเภอต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๖. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

การสร้างความเชื่อมั่นในตัวทีมวิทยากร  การรู้หน้าที่ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน 

เจ้าหน้าที่ คอยเป็นพี่เลี้ยง  ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา