เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนบ้านดอนม่วง ม.9 ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

โดย : นางอรอุมา เกื้อกูล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-17:40:43

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราษีไศล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยมุ่งหวังแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในระดับล่างให้มีรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนไปสู่การปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

                   จากภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้การประกอบอาชีพต่างๆ ของประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในประเทศประสบกับภาวะผลผลิตราคาตกต่ำ มีการใช้สารเคมีมากขึ้น มีการปลูกพืชแค่พืชเชิงเดี่ยว การทำการเกษตรผสมผสานไม่ค่อยได้รับความนิยม ประชาชนขาดอาชีพและรายได้เสริมหลังว่างเว้นจากฤดูการผลิต ขาดการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ กลุ่มอาชีพเดิมไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ปราชญ์ชุมชนที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพในท้องถิ่นไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาให้ผู้อื่นนำไปเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพได้เท่าที่ควร รวมทั้งชุมชนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศูนย์ฝึกอบรม/ศูนย์เรียนรู้อย่างต่อเนื่องเท่าที่ควร ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มีการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมือง ละทิ้งการประกอบอาชีพดั้งเดิมของตนเอง เปลี่ยนไปเป็นแรงงานลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น

                 ดังนั้นการทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นภายใต้การส่งเสริมอาชีพดั้งเดิมที่เกิดจากภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชนให้เป็น “สัมมาชีพชุมชน” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้ปราชญ์ชุมชนได้ฝึกฝนทักษะการสอน การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อยกระดับให้เป็น “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน” และส่งเสริมให้มีการนำทักษะการสอน การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่การสร้างทีมงานภายในหมู่บ้านให้เป็น “ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน” เพื่อร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้าน ที่มีความสนใจและสมัครใจที่จะเข้ารับการฝึกอาชีพแต่ละประเภทเข้าร่วมฝึกทักษะการประกอบอาชีพต่างๆ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว สามารถรวมกลุ่มประกอบอาชีพ เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

       

ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา

1)ค้นพบปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ

2)  ชุมชนได้รับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และทราบศักยภาพของตนเอง

3) ปราชญ์ชุมชนได้รับการพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการเป็นวิทยากรกระบวนการจากเดิมมีกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านจำนวน ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทำขนม, กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เมื่อมีได้ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนแล้ว ทำให้มีกลุ่มอาชีพที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๑ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลูกกล้วยหอม

4) ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเป้าหมายจำนวน ๒๐ ครัวเรือน ในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาและฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนวัสดุส่งเสริมอาชีพเพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาการประกอบสัมมาชีพของตนเองให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

                   ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑) การใช้กระบวนการพัฒนาชุมชนโดยการให้การศึกษาแก่ชุมชน ด้วยการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนสู่ครัวเรือนเป้าหมายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างรายได้และความเข้มแข็งจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพ  กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ และการอธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน และการเปิดโอกาสให้มีการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย
2) การร่วมแรงร่วมใจและความสมัครสมานสามัคคีกันของคนในชุมชน
3) การมีผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ และให้การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

       

กระบวนการ

                   1) ปฏิบัติการค้นหาปราชญ์ชุมชนผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ ผ่านการจัดเวทีประชาคม

                   2) ประสานงานให้ปราชญ์ที่ได้รับการคัดเลือก เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี

                   3) ดำเนินการร่วมกับปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”ในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกจำนวน4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                  4) ประชุมปรึกษาหารือเพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หลังจากนั้นจึงลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ค้นหาและวิเคราะห์อาชีพและดำเนินการฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

                   5) ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน ให้ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้มั่นคง และลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้อย่างต่อเนื่อง

                   วิธีการ/เทคนิค

                   1) ดำเนินงานตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

                  2) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโดยใช้หลักวิทยากรกระบวนการ

                 3) การส่งเสริมสนับสนุนและการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และกำกับติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ

                4) การสร้างความสัมพันธ์อันดีและการบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
               5) การใช้หลักเยี่ยมยาม ถามข่าว พบปะ พูดคุย และการปรับเปลี่ยนทัศนคติ

อุปกรณ์ ->

ข้อพึงระวัง

                   1) ปราชญ์ชุมชนที่จะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาและฝึกฝนทักษะการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนจะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและความเสียสละ

                 2) การดำเนินงานทุกขั้นตอนควรใช้ระยะเวลาที่มีความเหมาะสม

             

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา