เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

โดย : นางสาวกิริยา สมบัติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-15:55:02

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองจันทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตร ในชุมชนมีภาวะ

ความเสี่ยง ของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิต มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย หรือมีแต่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ  ประชาชนเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง ซึ่งส่วนราชการมีศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมี

รายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง อำเภอเมืองจันทร์มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน  จำนวน ๑๙  หมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

๔.๑  ดำเนินการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านพื้นที่เป้าหมาย เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ “สัมมาชีพชุมชน” เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม และคัดเลือกปราชญ์ชุมชนจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จจากการประกอบอาชีพ และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นในชุมชน หมู่บ้านละ ๕ คน โดยให้พิจารณาจากอาชีพที่มีความสนใจมากที่สุดเรียงลำดับ ๑-๕ และเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมายที่แสดงความประสงค์ต้องการเข้ารับการฝึกอาชีพเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาคัดเลือกจากครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ ปี ๒๕๕๙ เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก จำนวน ๒๐ ครัวเรือน

๔.๒  ประสานปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ ๑ คน เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ สร้างวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้ และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน เพื่อที่จะสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

 

 

-๒-

๔.๓ ประสานปราชญ์ชุมชน ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ ๑ คน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพ และวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

๔.๔  ร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ และหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ ๑ คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันวางแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการฯ และทบทวนกรอบการเรียนรู้ หลักสูตรในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านๆละ ๔ คน

๔.๕ ร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ และหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ติดตาม สนับสนุน การจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

๔.๖ ร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ และหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ว่าได้ดำเนินการเป็นไปตามกรอบแนวทางการเรียนรู้ ที่กำหนดหรือไม่

๔.๗ ร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ และหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน และสนับสนุนให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่ผ่านการพัฒนามีการรวมกลุ่มจัดตั้งและพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑)      การคัดเลือกอาชีพครัวเรือนเป้าหมาย ๒๐ ครัวเรือน ต้องเป็นอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ มีตลาดจำหน่าย ตรงกับความต้องการของชุมชน และมีช่องทางในการรวมกลุ่มต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

๒)      มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นโครงการใหม่เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ”

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ความคิดครัวเรือนเป้าหมาย ๒๐ ครัวเรือน มองว่า เมื่อฝึกอาชีพแล้ว จะประสบผลสำเร็จทันที ต้องสร้างความเข้าใจให้ยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตเพื่อบริโภค  ลดรายจ่ายในครัวเรือน แบ่งปัน และจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ โดยทำตามกระบวนการค่อยเป็นค่อยไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา